วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

รากตำลึง รากล้วนๆ

 ขายรากตำลึง รากตำลึงตากแห้ง

สำหรับดองเหล้า  400 กรัม ราคา 350 บสม ค่าจัดส่ง 40 บาท

0809898770










วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565

ประโยชน์ของผงกล้วยดิบ

 ตำรายาแผนโบราณ: ตามตำรายาแผนโบราณจะใช้กล้วยดิบทั้งเปลือกเพื่อรักษาอาการท้องเสีย ปวดท้อง จุกเสียด โดยนำผลกล้วยดิบมาฝานบางๆ ตากแดดให้แห้ง และบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ



0.5 กก ราคา 250 บาทรวมส่งโอนเงิน0809898770



บัญชียาหลักแห่งชาติ: ในบัญชียาหลักแห่งชาติระบุว่า ผงกล้วยแก่จัด (ไม่ระบุว่าใช้ส่วนเปลือกด้วยหรือไม่) สามารถใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่นอุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน ขนาดและวิธีใช้คือ รับประทานครั้งละ 10 ก. ชงน้าร้อน 120 - 200 มล. วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร ข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้กับผู้ที่ท้องผูกและการใช้ติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้ท้องอืดได้ อาการไม่พึงประสงค์คือ ทำให้ท้องอืด


จากละเอียดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้กล้วยดิบทั้งเปลือกมีความปลอดภัยสามารถใช้ได้ค่ะ และการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า การใช้กล้วยดิบทั้งเปลือกหรือการใช้เฉพาะเนื้อกล้วยดิบ ต่างมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพ) แต่ในแง่ของสารสำคัญเมื่อเปรียบเทียบที่น้ำหนักเท่ากัน การใช้กล้วยดิบทั้งเปลือกน่าจะทำให้ได้รับสารแทนนินและเซลลูโลส (กากใยที่ไม่ละลายน้ำ) ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของเปลือกผลไม้ มากกว่าการใช้เฉพาะส่วนเนื้อผล และในเปลือกกล้วยจะมียาง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองได้ค่ะ


 


เอกสารอ้างอิง


ฐานข้อมูลสมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน http://medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/index.asp


เรื่องกล้วย...กล้วย : กล้วยกับอาการท้องเสียhttp://medherbguru.gpo.or.th/articles/D33_banana.pdf


บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/Shared%20Documents/New/nlem2561.PDF

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564

กระชายเป็นพิษต่อตับไหม

 คำถาม : กระชายเป็นพิษต่อตับไหมครับ

กระชายเป็นพิษต่อตับไหมครับ

 

คำตอบ : ยังไม่พบรายงานว่ากระชายมีฤทธิ์เหนี่ยวนำความเป็นพิษต่อตับทั้งในระดับสัตว์ทดลองและในการศึกษาทางคลินิก โดยการบริโภคกระชายในรูปแบบอาหารและมีปริมาณที่เหมาะสมจึงไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ควรระมัดระวังการบริโภคในรูปแบบที่เข้มข้น หรือรับประทานในปริมาณสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนการใช้ในระยะยาว และควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการรับประทานค่ะ

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563

สะเดาและโหระพา สามารถสกัดโดยใช้แอลกอฮอล์หรือเอทานอลได้ไหม

 คำถาม : สกัดสะเดาและโหระพา

  • สะเดาและโหระพา สามารถสกัดโดยใช้แอลกอฮอล์หรือเอทานอลได้ไหม  
  • ถ้าได้ต้องสกัดอย่างไรบ้าง ะ

 

คำตอบ : วิธีการสกัดโดยการหมักด้วยแอลกอฮอล์หรือเอทานอล 70% หรือใช้เหล้าขาว (ความเข้มข้น 35-40%เอทานอล) ตามคำแนะนำให้หนังสือคู่มือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อเศรษฐกิจชุมชน ของอย. ทำได้โดย

1. แช่สมุนไพรในเอทานอล 70% หรือเหล้าขาว โดยใช้เหล้าขาวประมาณ 2-3 เท่าของปริมาณสมุนไพรที่ใช้ โดยแช่ในภาชนะที่ปิดสนิท ทิ้งไว้ 7 วัน และคนทุกวัน

2. จากนั้นกรองเอาแต่ส่วนน้ำ บีบสารละลายออกจากกากให้หมด แยกเก็บสารสกัดไว้ (ส่วนที่ 1)

3. เติมเหล้าขาวเพิ่มในภาชนะ เพื่อล้างกาก และทำการหมักซ้ำ อีก 7 วัน เพื่อสกัดให้ได้สารออกมามากที่สุด

4. เมื่อครบ 7 วัน กรองเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำออกมา (ส่วนที่ 2)

5. นำสารสกัดส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 มารวมกัน จากนั้นทำให้เข้มข้นขึ้นด้วยการระเหยแอลกอฮอล์ออก โดยใช้วิธีตุ๋นในลังถึง ห้ามนำไปตั้งไฟโดยตรง เพราะแอลกอฮอล์มีคุณสมบัติติดไฟ ตุ๋นจนสารสกัดลดลงเหลือ 1 ใน 3 ทิ้งให้เย็น นำไปใส่ในขวดหรือภาชนะที่ปิดสนิท แล้วจึงเก็บในตู้เย็นช่องปกติเพื่อไว้ใช้ต่อไป


อ้างอิง : หนังสือคู่มือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อเศรษฐกิจชุมชน






วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ต้นลูกใต้ใบ สมุนไพรแก้ไข้ แก้ไอ ขับปัสสาวะ บำรุงตับ ขับประจำเดือนควบคุมระบบน้ำตาล

 ต้นลูกใต้ใบหรือมะขามป้อมดิน 

เป็นสมุนไพรแก้ไข้ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ไข้ทับระดู หรือแม้กระทั่งไข้จับสั่น ลดความร้อนในร่างกายและแก้ไอ 

  • ขับปัสสาวะ 
  • บำรุงตับ 
  • ขับประจำเดือน
  • ควบคุมระบบน้ำตาล 
  • รักษาแผลอักเสบ 

นำต้นสะเดาดินและต้นลูกใต้ใบ อัตราส่วนเท่ากันนำมาต้มดื่ม 

ดื่มก่อนอาหาร ๓ เวลา หรือต่างน้ำก็ได้ 

จะสกัดโรคอหิวาตกโรค ได้ผลดีนักแล

ท้องเสีย

ท้องเสีย 

เอาใบฝรั่ง ๔-๕ ใบ ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไปเอามาเคี้ยวให้ละเอียด 

กลืนพร้อมน้ำ ๒-๓ อึกอาการจะดีขึ้น 

ถ้ายังไม่หายให้กินซ้ำอีกได้ 

ไม่ต้องไปหาหมอ 

สูตรนี้ เป็นสูตรของพระครูนิวาสธรรมขันธ์ “หลวงพ่อเดิม พุทธสโร” วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ 

ออกหัดเป็นไข้ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

เด็กๆที่ป่วยออกหัดเป็นไข้ 
กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นเลือด 

เอารากต้นหญ้าคา ประมาณ ๑ กำมือ 

นำมาต้มดื่มต่างน้ำ ช่วยรักษาได้เป็นอย่างดี 



ปัญหาโรคไตเกิดอาการบวมทั้งตัว

ปัญหาโรคไตเกิดอาการบวมทั้งตัว 
  • ข้าวกล้อง ๓ กำมือ 
  • ถั่วแดง ๓ กำมือ 
  • หัวกระเทียมเอาเปลือกออก ๒ หัวใหญ่ ทุบให้แตก 

เอาตัวยาทั้ง ๓ นี้นำมานึ่งให้สุก 

ใช้รับประทานแทนข้าววันละ ๓ มื้อ เช้า-เที่ยง-เย็น 

ปรุงยานี้กินทุกวัน ในตำราบอก ๑๕ วัน 

โรคไตซึ่งมีอาการบวมตามมือ-เท้าและตามร่างกาย จะหายไป 

ยานี้ จะทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ จะทำให้อาการบวมยุบลงทันที 

อาตมาเคยปรุงตำรับนี้ให้โยมอายุ ๑๕ ปี ที่มีอาการตัวบวม กินได้เพียง ๔ วัน อาการหวยก็หายเป็นปกติมาแล้ว


จำรัส เซ็นนิล รวบรวม/เรียบเรียง

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2563

โคกกระสุน เ แต่เพิ่มกระสุนท่านชาย

ตำรับยา

ยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพ
         เมล็ดแก่ตากแห้งบดเป็นผง กินครั้งละประมาณ ๑ ช้อนชากินกับน้ำผึ้ง ๒ เวลา  เช้า-เย็น

ยาบำรุงไต แก้ปวดเมื่อย อ่อนเพลียเรื้อรัง

         โคกกระสุนทั้งห้า ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓ แก้ว ต้มให้เหลือน้ำ ๑ แก้ว แล้วกรองเอาแต่น้ำยา ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2563

คัมภีร์อภัยสันตา

คัมภีร์อภัยสันตา
คัมภีร์อภัยสันตา เป็นโรคเกี่ยวกับตาทุกชนิด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน 21 ชนิดดังนี้:-

ต้อหมอก แบ่งออกเป็น 3 อย่าง
1). ตามัวเป็นฝ้าขาวในตาดำ  ตาบวม และปวด เป็นเดือน 5 – 6 – 7 – 8 เกิดขึ้นเพื่อ (เพราะ) โลหิต
2). ตามัวเป็นฝ้าขาวในตาดำ ตาบวม และปวด เป็นเดือน  9 – 10 – 11 – 12 เกิดขึ้นเพื่อ (เพราะ) กำเดา
3). ตามัวเป็นฝ้าขาวในตาดำ ตาบวม และปวด เป็นเดือน  1 – 2 – 3 – 4 เกิดขึ้นเพื่อ (เพราะ) เสมหะระคนกัน
ต้อเกิดที่ตาดำ งอกดุจฟองปลา ให้น้ำตาไหล เกิดเพื่อ (เพราะ) ริดสีดวง
ต้อแนะ เกิดเพื่อ (เพราะ) โลหิต ตาแดงน้ำตาไหล ขนตาร่วง
ต้อฝี เกิดจากสันนิบาต ตามังมองแสงไฟไม่ได้
ตาฟางกลางคืน เกิดเพื่อ (เพราะ) กำเดา
ต้อวาโย เวลานอนให้เจ็บกระบอกตา ตาเป็นดุจเยื่อไม้
ต้อลิ้นสุนัข ตาเป็นแผ่นสีขาวในตาดำ
ต้อก้นหอย มองดูเป็นระลอก เป็นหลุมตรงกลางจุดที่เป็น
ต้อกระจก ต้อสลัก  ต้อกงเกวียน ต้อแก้วเป็นจุดที่หัวตาดำ
ต้อเนื้อ เป็นเยื่อยื่นขาวขึ้นที่หัวตา แล้วยื่นเข้าปิดตาดำ
ต้อแววนกยูง ตามันดังเยื่อลำไยขาว
ต้อหมอก เมื่อมองดูจะเห็นเป็นวงกลม เป็นเงาอยู่กลางตาดำ
ต้อลาย เมื่อมองดูจะเห็นเป็นแววอยู่กลางตาดำ
ต้อกระจก มองเห็นเป็นใยขาวผ่านตาดำ ให้ร้อนฝ่าเท้าเป็นประมาณ 15 วัน ใยขาวจะกลบตาดำมีสีเหลืองตรงจุดกลาง
ต้อหิน ตามัวมองเป็นก้อนขาวเป็นเงาๆ อยู่กลางตาดำ
ต้อกระจก 7 ประการ คือ
1). ต้อนิลกระจก
2). ต้อกระจกนกยูง
3). ต้อกระจกหลังเบี้ย
4). ต้อกระจกปรอท
5). ต้อกระจกหิ่งห้อย
6). ต้อกระจกแดง
7). ต้อกระจกขาว
       อาการ เกิดเป็นลมขึ้นฝ่าเท้า เมื่อยตั้งแต่เท้าจนถึงคอ เป็นอยู่ 2-3 ปี แล้วปวดศีรษะ ด้งจะแตก แล้วมีจุดขึ้นที่ตาดำ
ต้อมะเกลือ  ลูกตาดำเป็นจุดดังผิวมะกรูด เกิดเพื่อ (เพราะ) ดี เป็นตรีโทษ
ต้อไฟ ในลูกตาแดงดังผลมะกล่ำ ปวดเคืองมาก เป็นเอกโทษ เกิดเพราะนอนมาก
ต้อหูด ลูกตาดำเป็นจุดขาวแข็งดุจกระดูก และพองออกมา เกิดเพราะเสมหะ และลม
ต้อสีผึ้ง เป็นขาวๆ อยู่รอบๆ ตาดำ รักษาหายยาก
ต้อข้าวสาร เป็นจุดขาวแหลมนูน คล้ายเม็ดข้าวสารอยู่กลางตาดำ ปวดแสบ เคืองในลูกตามาก

คัมภีร์ฉันทศาสตร์

คัมภีร์ฉันทศาสตร์
ว่าด้วยประเภทของไข้ต่างๆ

ลักษณะของไข้ ซึ่งเมื่อเวลาจับและกำลังวัน จะบอกว่าไข้นั้นเป็นไข้ประเภทใด มี 3 สถาน คือ
1)  ไข้เอกโทษ    เริ่มจับเวลาย่ำรุ่งถึงบ่าย 2 โมง   แล้วไข้นั้นจะค่อยๆ คลายลง
2)  ไข้ทุวันโทษ   เริ่มจับเวลาย่ำรุ่ง      ถึง 2 ทุ่ม    แล้วไข้นั้นจะค่อยๆ คลายลง
3)  ไข้ตรีโทษ      เริ่มจับเวลาย่ำรุ่ง      ถึงตี 2       แล้วต่อถึงรุ่งเช้าแล้วไข้นั้นจะค่อยๆ สร่างคลายลง

ลักษณะของวันเวลาที่ไข้กำเริบ มี 4 สถาน คือ
1) กำเดา    กำเริบ     4 วัน
2) เสมหะ   กำเริบ     9 วัน
3) โลหิต     กำเริบ     7 วัน
4) ลม        กำเริบ   13 วัน

กำลังของธาตุกำเริบ มี 4 สถาน คือ
1) ตติยะชวร    คือ นับจากวันเริ่มไข้  ไปถึงวันที่    4    รวม  4 วัน
2) ตรุณชวร     คือ นับจากวันที่  5     ไปถึงวันที่    7   รวม  3 วัน
3) มัธยมชวร   คือ นับจากวันที่  8      ไปถึงวันที่  15   รวม  8 วัน
4) โบราณชวร  คือ นับจากวันที่ 16     ไปถึงวันที่  17   รวม  2 วัน

          ต่อไปจากนี้ ธาตุต่างๆ ได้พิการไปแล้วโดยไม่มีกำหนด วันเวลาว่านานเท่าไร ระยะนี้เราเรียกว่า จัตตุนันทชวร

ลักษณะไข้ กล่าวไว้ว่าแสดงโทษ ดังต่อไปนี้
   1) ไข้เอกโทษ มี 3 สถาน คือ

(1) กำเดาสมุฏฐาน มีอาการจิตใจฟุ้งซ่าน ปวดหัว คลุ้มคลั่ง จิตหวั่นไหว ตัวร้อนจัด นัยน์ตาเหลือง แต่ปัสสาวะแดง อาเจียนมีสีเหลือง กระหายน้ำ ปากขม น้ำลายแห้ง ผิวแห้งแตกระแหง ผิวหน้าแดง ตัวเหลือง กลางคืนนอนไม่หลับ เวลาจับ จิตใจมักเคลิ้มหลงใหล น้ำตาไหล
(2) เสมหะสมุฏฐาน มีอาการหนาวมาก? ขนลุกชันทั่วตัว จุกในอก แสยงขน กินอาหารไม่ได้ ปากหวาน ฝ่ามือฝ่าเท้าขาว อุจจาระปัสสาวะก็ขาวด้วย อาเจียน และเบื่อ เหม็นอาหาร จับสะท้านหนาว
(3) โลหิตสมุฏฐาน (ไข้เพื่อโลหิต) มีอาการตัวร้อนจัด ปวดหัว กระหายน้ำ เจ็บตามเนื้อตามตัว ปัสสาวะเหลือง ผิวตัวแดง ฟันแห้ง ลิ้นคางแข็ง ปากแห้งน้ำลายเหนียว

   2) ไข้ทุวันโทษ มี 4 สถาน คือ

(1) ทุวันโทษ ลม และกำเดา มีอาการจับหนาวสะท้าน ตัวร้อนจัด กระหายน้ำ เหงื่อตก จิตใจระส่ำระสาย วิงเวียน ปวดหัวมาก
(2) ทุวันโทษ กำเดา และเสมหะ มีอาการหนาวสะท้าน แสยงขน จุกแน่นในอก หายใจขัดไม่สะดวก เหงื่อตก ปวดหัว ตัวร้อน
(3) ทุวันโทษ ลม และเสมหะ มีอาการหนาว ต่อมาจะรู้สึกร้อน (ร้อนๆ หนาวๆ) วิงเวียน เหงื่อไหล ปวดหัว นัยน์ตามัว ไม่ยอมกินอาหาร
(4) ทุวันโทษ กำเดา และโลหิต มีอาการนอนไม่หลับตอนกลางคืน แต่พอหลับตามักจะเพ้อ ปวดหัวมาก จิตใจกระวนกระวาย ร้อนในกระหายน้ำ เบื่ออาหารไม่ยอมกิน

    3) ไข้ตรีโทษ มี 3 สถาน คือ

(1) ตรีโทษ เสมหะ กำเดา และลม มีอาการเจ็บตามข้อทั่วทั้งลำตัว ร้อนใน กระหายน้ำ จิตใจระส่ำระสาย เหงื่อไหลโทรมทั่วตัว ง่วงนอนมาก
(2) ตรีโทษ กำเดา โลหิต และลม มีอาการปวดเมื่อยทั้งตัว ปวดหัวมากที่สุด เกิดวิงเวียนหนักหัว หนาวสะท้าน ไม่ใคร่รู้สึกตัว เหม็นเบื่ออาหาร เชื่อมซึม ง่วงนอน
(3) ตรีโทษ โลหิต เสมหะ และกำเดา มีอาการเร่าร้อน กระหายน้ำ กลางคืนหลับไม่สนิท จิตใจระส่ำระสาย เหงื่อตก หน้าเหลือง อาเจียนเป็นสีเหลืองมีโลหิต นัยน์ตาแดงจัด อนึ่ง ถ้าหากกำเดา เสมหะ โลหิต และลม 4 ประการนี้รวมกันให้โทษ 4 อย่าง คือ 1. ตัวแข็ง  2. หายใจขัด 3. ชักคางแข็ง 4. ลิ้นแข็ง ท่านเรียกโทษนี้ว่า มรณชวร หรือ ตรีทูต

กำเนิดไข้โดยรู้จากอาการของไข้นั้นๆ ที่แสดงให้เห็น เช่น
    1) ไข้สันนิบาต มี 3 ลักษณะ คือ

(1) ไข้ใดให้มีอาการตัวร้อน กระหายน้ำ หมดแรง ปากแตกระแหง นัยน์ตาแดง เจ็บไปทั่วตัว ชอบอยู่ในที่เย็นๆ
(2) ไข้ใดให้มีอาการตัวเย็น ชอบนอน เบื่ออาหาร เจ็บในคอ และลูกตา นัยน์ตาแดงจัด เจ็บหูทั้งซ้ายขวา เจ็บปวดตามร่างกาย กระหายน้ำ นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก คลื่นไส้อาเจียนเป็นสีเหลือง
(3) ไข้ใดให้มีอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาว ปวดหัว ปวดฟัน เจ็บในคอ ขัดหน้าอก กระหายน้ำมาก ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ปัสสาวะ และอุจจาระไม่ใคร่ออก

    2) ไข้สันนิบาตโลหิต 
คือ ไข้ใดให้มีอาการเจ็บที่สะดือแล้วลามขึ้นไปข้างบน วิงเวียน หน้ามืด เจ็บที่ท้ายทอย (กำด้น) ขึ้นไปถึงกระหม่อม สะบัดร้อนสะบัดหนาว ท้องอืดแน่น อาการเช่นนี้ท่านว่า เป็นสันนิบาตโลหิต

    3) ไข้สันนิบาตปะกัง 
คือ ไข้ใดให้เห็นมีเม็ดสีแดงผุดทั่วตัว มีอาการปวดหัวเมื่อตอนพระอาทิตย์ขึ้น
ไข้นี้เรียกว่า ไข้สันนิบาตปะกัง

    4) ไข้ตรีโทษ 
คือ ไข้ใดเมื่อพิศดูรูปร่างแล้ว มีลายตามตัว มีอาการเพ้อละเมอไป ผู้อื่นพูดด้วยไม่ได้ยินเสียง (หูอื้อ)
เรียกว่า ไข้ตรีโทษ

    5) ไข้ที่เกิดจากลม และเสมหะระคนกัน 
คือ ไข้ใดมีอาการหนาวสะท้าน เกียจคร้าน วิงเวียน ปวดหัว แสยงขน กระหายน้ำ เจ็บบริเวณเอว และท้องน้อย ในปากคอ และน้ำลายแห้ง นอนหลับมักลืมตา ทั้งนี้เพราะลม และเสมหะระคนกัน

    6) ไข้ที่เกิดจากเสมหะ และดีระคนกัน 
คือ ไข้ใดให้มีอาการหน้าแดง ผิวหน้าแห้ง กระหายน้ำ นอนไม่หลับ อาเจียน และปัสสาวะออกมามีสีเหลือง มักหมดสติไป ไข้นี้ท่านว่า เสมหะระคนกับดี

   7) ไข้ที่เกิดจากลม และกำเดา
คือ ไข้ใดให้มีอาการท้องขึ้น วิงเวียน สะอึก และอาเจียน ไข้นี้เป็นโทษลม และกำเดากระทำ

    8) ไข้ที่เกิดจากเลือดลม และน้ำเหลือง
คือ ไข้ใดที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนแต่น้ำลาย ไข้นี้ท่านว่า เลือดลมและน้ำเหลืองเข้ามาระคนกัน

   9) ไข้เพื่อ (เพราะ) ดี 
คือ ไข้ใดให้มีอาการขมในปาก เจ็บหัว นอนมาก และเจ็บตามตัว โทษนี้เกิดจากเป็นไข้เพื่อ (เพราะ) ดี

  10) ไข้เพื่อ (เพราะ) กำเดา 
คือ ไข้ใดให้มีอาการปวดหัว อาเจียน นอนไม่หลับ กระหายน้ำ เจ็บในปากและในคอ หรือไข้ใดให้มีอาการเจ็บนัยน์ตา หัวร้อนดังกระไอควันไฟท่านว่ากำเดาให้โทษ

   11) ไข้เพื่อ (เพราะ) โลหิต 
คือ ไข้ใดให้มีอาการเจ็บแต่ฝ่าเท้า และร้อนขึ้นไปทั่วตัวให้เร่งรักษาแต่ภายในกลางคืนนั้นอย่าให้ทันถึงรุ่งเช้าจะมีอันตราย มีอาการเจ็บมากที่หน้าผาก จิตใจกระวนกระวาย ท่านว่า เป็นไข้เพื่อ (เพราะ) โลหิต

  12) ไข้เพื่อ (เพราะ) เสมหะ 
คือ ไข้ใดให้มีอาการนอนฝัน เพ้อ น้ำลายมากในปาก มือ และเท้าเย็น อยากกินอาหารคาวหวาน มือและเท้ายกไม่ขึ้น สะบัดร้อนสะบัดหนาว โทษนี้เสมหะกระทำ

  13) ไข้เพื่อ (เพราะ) ลม คือ
(1) ไข้ใดให้มีอาการ ขมในปาก อยากกินแต่ของแสลง เนื้อสั่นระริก และเสียวทั้งตัว เจ็บไปทั้งตัว จุกเสียด หรือ
(2) ไข้ใดให้มีอาการหนาวสะท้าน บิดขี้เกียจ ยอกเสียดในอก ท่านว่าเป็นไข้เพื่อ (เพราะ) วาตะ (ลม) หรือ
(3) ไข้ใดให้มีอาการหนาวสะท้าน อาเจียน แสยงขน ปากหวาน เจ็บไปทั่วตัว อยากนอนตลอดเวลา เบื่ออาหาร หรือ
(4) ไข้ใดให้มีอาการสะอึก อาเจียน และร้อนรุ่มกลุ้มใจ ท่านว่าเป็นไข้เพื่อ เพราะ) ลม
(5) ไข้ใดให้หมอดูร่างกายเศร้าดำไม่มีราศี ไอ กระหายน้ำ ฝาดปาก เจ็บอก หายใจขัด เพราะในท้องมีก้อนๆ ทั้งนี้เป็นไข้เพื่อ (เพราะ) ลม

14) ไข้เพื่อ (เพราะ) กำเดา 
คือ ไข้ใดให้มีอาการเจ็บตามผิวหนัง ปัสสาวะเหลือง ร้อนใน กระวนกระวาย ชอบอยู่ที่เย็น นัยน์ตาแดง ลงท้อง กระหายน้ำ ทั้งนี้เป็นไข้เพื่อ เพราะ) กำเดา

   15) ไข้สำประชวร 
คือ ผู้ใดมีอาการเป็นไข้เรื้อรังมาเป็นเวลานานๆ รักษาไม่หาย ทำให้ร่างกายซูบผอมไม่มีแรง เบื่ออาหาร ไข้นี้จะเนื่องมาจากไข้เพื่อเสมหะ โลหิต ดี กำเดาหรือลม เป็นเหตุก็ตาม ให้แพทย์สังเกตดูที่นัยน์ตาของคนไข้จะรู้ได้ว่า คนไข้นั้นเป็นไข้เพื่อ (เพราะ) อะไร ซึ่งมี 5 ประการด้วยกัน คือ

          (1) ไข้เพื่อ (เพราะ) กำเดา มีอาการปวดหัวตัวร้อน สะท้านร้อนสะท้านหนาว ไม่มีน้ำตา ปากคอแห้งกระหายน้ำนัยน์ตาแดงดังโลหิต
          (2) ไข้เพื่อ (เพราะ) โลหิต มีอาการปวดหัวตัวร้อน หน้าแดงนัยน์ตาแดง มีน้ำตาคลอ
นัยน์ตาแดงดังโลหิต
          (3) ไข้เพื่อ (เพราะ) เสมหะ มีอาการหนาว แสยงขน ขนลุกทั้งตัว หรือไม่ร้อนมาก
นัยน์ตาเหลืองดังขมิ้น
          (4) ไข้เพื่อ (เพราะ) ดี มีอาการตัวร้อน เพ้อคลั่ง ปวดหัว กระหายน้ำ ขอบนัยน์ตาสีเขียวเป็นแว่น
          (5) ไข้เพื่อ (เพราะ) ลม มีอาการวิงเวียน หน้ามืด ตัวไม่ร้อน นัยน์ตาขุ่นคล้ำ และมัว อีกพวกหนึ่งนัยน์ตาไม่สู้แดงนัก (แดงเรื่อๆ) ถ้าเป็นกับชาย เกิดจากเส้นอัมพฤกษ์ ถ้าเป็นกับหญิง เกิดจากเส้นปัตคาด

  16) ไข้เพื่อลม และเสมหะ 
คือ ไข้ใดให้มีอาการปวดหัวมาก ไอ หาวนอน บิดตัวเกียจคร้าน เหงื่อไหล ทั้งนี้เป็นเพราะถูกลมเสมหะมาทับระคน

   17) ไข้เพื่อเสมหะ และกำเดา 
คือ ไข้ใดให้มีการซึมมัว กระหายน้ำ ขมปาก ท้องร้อง เจ็บตามตัว เหงื่อไหล ไอ ตัวไม่ร้อน เป็นปกติ ทั้งนี้เป็นเพราะเสมหะ และกำเดา

  18) ไข้ตรีโทษ 
คือ มีโทษ 3 ประการ คือ เจ็บไปทั่วตัว นอนไม่หลับ และเบื่ออาหาร อาการ 3 ประการนี้ จะเกิดขึ้นในขณะอยู่ในทุวันโทษ ซึ่งแพทย์พอรักษาได้

  19) ไข้สันนิบาต
คือ ไข้ใดให้มีอาการไอแห้ง หอบมีเสมหะในคอ เล็บมือ และเล็บเท้าเขียว นัยน์ตาสีเขียว มีกลิ่นตัวสาบดังกลิ่นสุนัข,แพะ,แร้ง หรือนกกา โกรธง่าย เรียกว่าไข้สันนิบาต มักถึงที่ตาย

20) ลักษณะไข้แห่งปถวีธาตุ 
คือ ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ 1-2 วัน ให้มีอาการเชื่อมมัว หมดสติ ไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายยาก็ไม่ออก ไม่กินอาหาร แต่อาเจียนออกมาก ถ้าอาการเหล่านี้ยืนนานไปถึง 10-11 วัน ท่านว่าตายเพราะเป็นลักษณะแห่งปถวีธาตุ

21) ลักษณะไข้แห่งวาโยธาตุ 
คือ ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ 3-4 วัน ให้มีอาการนอนสะดุ้ง หมดสติ เพ้อ เรอ อาเจียนแต่น้ำลาย มือ และเท้าเย็น โรคนี้ตาย 2 ส่วน ไม่ตาย 1 ส่วน ทั้งนี้เป็นโทษแห่งวาโยธาตุ ถ้าแก้มือเท้าเย็นให้ร้อนไม่ได้ อาการจะทรงเรื้อรังไปถึง 9 -10 วัน จะตายอย่างแน่แท้

22) ลักษณะไข้แห่งอาโปธาตุ 
คือ ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ 4 วัน มีอาการท้องเดิน บางทีมีเสมหะ และโลหิตตามช่องทวารทั้งหนักและเบา บางทีอาเจียนเป็นโลหิต ไข้ใดเป็นดังนี้ เป็นเพราะอาโปธาตุบันดาลให้เป็นไป ถ้ารักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นอยู่เป็นเวลา 8-9 วัน ต้องตายแน่นอน

23) ลักษณะไข้แห่งเตโชธาตุ 
คือ ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ 3-4 วัน มีอาการร้อนไปทั้งตัว ทั้งภายนอก ภายในทุรนทุรายหัวใจสับสน ต้องใช้น้ำเช็ดตัวไว้เสมอ ลิ้นแห้ง คอแห้ง แห้งในอก กระหายน้ำ คลั่งไคล้ หมดสติไปให้เจ็บโน่นเจ็บนี่ทั่วร่างกาย คล้ายคนมีมารยา อยากกินของแสลง ดุจผีปอบ (ฉะมบปอบ) อยู่ภายใน โทษนี้คือโทษแห่งเตโชธาตุ ถ้าแก้ความร้อนไม่ตก และอาการยืนอยู่ต่อไป 7-8 วันต้องตายแน่

ต่อไปนี้ขอให้แพทย์ให้จำไว้ให้แม่นยำว่า ไข้เอกโทษ ทุวันโทษ และไข้ตรีโทษนั้น ถ้ามีการทับสลับกัน ทำให้มีอาการผิดแปลกไปดังต่อไปนี้

ลมเป็นเอกโทษ มักจะเกิดกับบุคคลอายุ 50 ปีขึ้นไปในฤดูวัสสานฤดู เริ่มแต่หัวค่ำให้สะท้านร้อนสะท้านหนาว ปากคอ เพดานแห้ง เจ็บไปทุกเส้นเอ็นทั่วตัว (ปวดเมื่อย) เป็นพรรดึก นอนไม่หลับ จับแต่หัวค่ำ และจะค่อยๆ คลายลงภายใน 4 นาที เรียกว่า เอกโทษลม
ถ้าไข้นั้นไม่คลายไปจนถึงเที่ยงคืนก็จะเข้าเป็นทุวันโทษ เกิดเป็นเสมหะกับลม และถ้าไข้นั้นยังไม่คลาย จับต่อไปถึงย่ำรุ่งตลอดไปถึงเที่ยงคืน เรียกว่า ตรีโทษประชุมกันเป็นสันนิบาต
ท่านว่า ถ้าลมเป็นเอกโทษ พ้น 7 วัน จึงวางยา ถ้าไม่ถึง 7 วัน ไข้นั้นกำเริบ คือ ไข้ยังจับต่อไปอีก ให้แพทย์รีบวางยา

ดีเป็นเอกโทษ มักเกิดกับบุคคลอายุ 30-40 ปี ไข้จะเกิดในคิมหันตฤดู เริ่มแต่เที่ยงวัน มีอาการตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ กระวนกระวายใจ มึนซึม ในคอมีเสมหะ อุจจาระ ปัสสาวะมีสีเหลืองปนแดง เหงื่อไหล เรียกว่าเอกโทษดี จับแต่เที่ยงไป 5 นาทีก็จะคลาย
ถ้าดีเป็นเอกโทษจับไข้ยังไม่คลาย จับไปจนถึงค่ำก็เข้าเป็นทุวันโทษ เกิดเป็นลมระคนดี
ถ้าไข้นั้นยังไม่คลายลงจนถึงเที่ยงคืน และจับต่อไปจนรุ่งเช้า ท่านว่าเป็นสันนิบาตตรีโทษ ให้รีบวางยา           ท่านว่าถ้าจับเอกโทษดี เริ่มจับแต่เที่ยงวันเป็นต้นไป 4-5 นาที ก็จะสร่างคลาย กำหนด 9 วัน จึงวางยา

เสมหะเอกโทษ มักเกิดกับบุคคลอายุ 15 ปี ในเหมันตฤดูเริ่มจับแต่เช้าตรู่ตอนไก่ขัน มีอาการร้อนข้างนอกกาย แต่ภายในหนาว แสยงขน ไอ คอตีบตื้น กินอาหารไม่ลง เชื่อมมัว ปากหวาน นัยน์ตาขาว อุจจาระปัสสาวะขาว ไข้จับแต่เช้าตรู่ไป 5 นาที เรียกว่า เสมหะเอกโทษ
ถ้าไข้ยังไม่สร่างคลายไปจนถึงเที่ยงวันจนถึงบ่าย 5 นาที ดีจะมาระคนกับเสมหะ และถ้าไข้ยังจับต่อไปอีกจนถึงเย็นค่ำ และต่อไป เป็นสันนิบาตตรีโทษ

ทุวันโทษเสมหะ และดี เกิดกับบุคคลอายุอยู่ในปฐมวัย คือ ภายใน 16 ปี เป็นไข้ในคิมหันตฤดู มีเสมหะเป็นต้นไข้ และดีเข้ามาระคนเป็น 2 สถาน ทำให้มีอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาว ในปาก และคอเป็นเมือก กระหายน้ำ หอบ ไอ เชื่อมมัว ตัวหนัก ไข้เริ่มจับแต่เช้าตรู่ จะสร่างคลายตอนบ่ายโมง 3 นาที
ทุวันโทษดี และลม เกิดกับบุคคลอายุ 30-40 ปี วสันตฤดู มีดีเป็นต้นไข้ เริ่มจับตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึง เย็นค่ำจึงจะสร่างคลาย มีอาการเชื่อมมัว ปวดเมื่อยตามข้อ หาว อาเจียน ปาก และคอแห้ง ขนลุกขนพอง มักสะดุ้ง ตัวร้อน ทั้งนี้เป็นเพราะลมเข้าระคนเป็น ทุวันโทษ
ทุวันโทษลม และเสมหะ เกิดกับบุคคลอายุ 40-50 ปี เหมันตฤดู มีอาการหนักตัว ไอ ปวดหัว เมื่อยตามมือและเท้า มีลมเป็นต้นไข้ เริ่มจับแต่ตอนค่ำไปจนถึงรุ่งเช้าจะสร่างคลายลง มีอาการร้อนรนภายใน เหงื่อไม่มี ข้างนอกเย็น ทั้งนี้เป็นเพราะลม และเสมหะระคนกันเป็น ทุวันโทษ
ได้กล่าวถึงเอกโทษ และทุวันโทษแล้วตามลำดับมา ถ้าไข้นั้นยังมิสร่างคลายจับเรื่อยตลอดมา จะเป็นโทษ 3 ระคนกันเข้าเป็นโทษสันนิบาต
สันนิบาตจะเกิดระหว่างฤดู 3 หรือ ฤดู 6  ให้กำหนดในตอนเช้าเป็นต้นไข้กำเริบเรื่อยไปจนถึงเย็น และเที่ยงคืน ท่านว่าไข้นั้นตกถึงสันนิบาต มีอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาว เคืองนัยน์ตา น้ำตาไหล เจ็บปวดตามข้อและกระดูกไปจนถึงสมอง เหงื่อออกมาก นัยน์ตาเหลือง บางทีแดง นัยน์ตาถลนมองดูสิ่งใดไม่ชัด ดูดังคนบ้า หูปวดและตึง คันเพดาน หอบ และหายใจสะอื้น ลิ้นปากเป็นเม็ดเน่าเหม็น ลิ้นบวมดำ เจ็บในอก หัวสั่น เวลาหลับตาแต่ใจไม่หลับ ลุกนั่งไม่ไหว พูดพึมพำ อุจจาระบางทีเขียว บางทีดำ กะปริดกะปรอย รอบๆ ข้อมือมีเส้นมีลายสีเขียว สีแดง ถ้าเส้นสีเขียวมีตามตัว ท้องขึ้นผะอืดผะอมมีลมในท้อง ท่านว่าธาตุไฟทั้ง 4 นั้นดับสิ้นจากกาย
ถ้าผู้ใดป่วยเข้าขั้นสันนิบาต มีอาการบวมที่ต้นหู จะตายใน 7 วัน ถ้าบวมที่นัยน์ตาจะตายภายใน 5 วัน ถ้าบวมที่ปากจะตายภายใน 7 วัน
จงจำไว้ว่า ถ้าทุวันโทษลม และเสมหะ อันใดอันหนึ่งจะกล้าหรือจะหย่อน เราจะรู้ได้จากอาการ คือ          -ถ้าลมกล้าจะมีอาการท้องผูกปวดเมื่อยตามข้อ ปวดหัว หมดแรง
-ถ้าเสมหะกล้า จะมีอาการเป็นหวัด ไอ ลุกนั่งไม่สะดวก หนักตัว
-ถ้าดีกล้า จะจับแต่เที่ยงไปถึงบ่าย และไข้จะค่อยคลายหายไป
-ถ้ามีอาการเชื่อมมัว อาเจียน คลื่นไส้ แสดงว่าดีมีกำลังกล้า
-ถ้ามีไข้แต่เช้ามืดถึง 3 โมง เชื่อมมัว ตึงตามตัว ตัวหนัก จะนอนไม่ใคร่หลับสนิท ไอ คือ เสมหะให้โทษกล้ากว่าดี ทุวันโทษดี และลม
-ถ้าลมกล้า จะมีอาการจับไข้แต่บ่าย 3 โมง มีอาการเชื่อมมัว หาวเป็นคราวๆ นอนไม่หลับ จึงถึงเวลาพลบค่ำจึงสร่างคลาย คนไข้จะหลับสนิท ถ้าดีมีกำลังกล้า จะเริ่มจับไข้แต่เที่ยงไป จะมีอาการซวนเซเมื่อลุกนั่งหรือยืน ตัวร้อน อาการนี้จะมีไปถึงบ่าย 5 นาทีจะสร่างคลาย

-สันนิบาต มี 3 สถาน คือ ดี เสมหะ และลม
-ทุวันโทษ ดี และเสมหะ มีลมมาแทรกทำให้แรงขึ้น คือ
ตั้งแต่บ่าย 5 นาทีถึงสามยาม มีอาการเชื่อมมัว มึนตึงตามตัว หลับหรือตื่นไม่รู้สึกตัว มักนอนสะดุ้ง หูตึง ทั้งนี้เพราะลมมีกำลังกล้ามันจะพัดไปตามหู ตา และคอ
-ถ้าเสมหะกล้า จะเริ่มจับแต่บ่าย 5 นาที ไปจนถึงพลบค่ำต่อไปจนถึงสว่าง 3 นาที เช้าอาการจะสร่างคลายลง อาการนั้นมีดังนี้คือ ลุกนั่งไม่สะดวก หอบบ่อยๆ คลื่นไส้ ถ่มน้ำลาย หนักตัว ตึงผิวหน้า ปากลิ้นเป็นเมือก

คัมภีร์มหาโชตรัต

คัมภีร์มหาโชตรัต


พระคัมภีร์มหาโชตรัต กล่าวถึงโรคโลหิตระดูสตรี ปกติโทษ และระดูทุจริตโทษ ซึ่งว่าด้วยปฐมสัตว์ มนุษย์อันเกิดมาเป็นรูปสตรีภาพ ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดา มีกายแตกต่างจากชาย 4 ประการ คือ

ถันประโยธร
จริตกิริยา
ที่ประเวณี
ต่อมโลหิตระดู
1.ที่เกิดโลหิตระดูของสตรี 5 ประการ (เรียกว่าโลหิตปกติ)
โลหิตระดูอันเกิดแก่หัวใจ เมื่อใกล้จะมีระดูมานั้น มีอาการให้คลั่งเพ้อ เจรจาด้วยผี ให้นอนสะดุ้ง หวาดผวา มักขึ้งโกรธไปต่างๆ ครั้นมีระดูออกมาแล้ว อาการนั้นก็หายไป
โลหิตระดูอันเกิดแต่ขั้วดี เมื่อใกล้จะมีระดูมานั้น ให้มีอาการเป็นไข้ ให้คลั่งไคล้ ละเมอ เพ้อพก เจรจาด้วยผี ให้นอนสะดุ้งหวาดไป ครั้นมีระดูออกมาแล้ว อาการนั้นก็หายไป
โลหิตระดูอันเกิดแต่ผิวเนื้อ เมื่อใกล้จะมีระดูมานั้น ให้มีอาการนอน ร้อนผิวเนื้อผิวหนัง และแดงดังผลตำลึกสุก บางทีให้ผุดขึ้นทั้งตัวดังยอดหัด และฟกเป็นดังไข้รากสาด เป็นอยู่ 2 วัน 3 วัน ครั้นมีระดูมาแล้ว อาการนั้นก็หายไป
โลหิตระดูอันบังเกิดแต่เส้นเอ็น เมื่อใกล้จะมีระดูมานั้น ให้เป็นดุจดังไข้จับ ให้สะบัดร้อนสะบัดหนาว ปวดศีรษะมาก ครั้นพอมีระดูออกมาแล้ว อาการก็หายไป
โลหิตระดูอันเกิดแต่กระดูก เมื่อใกล้จะมีระดูมานั้น ให้เมื่อยขบไปทุกข์ดังจะขาดออกจากกัน ให้เจ็บเอวสันหลังมาก มักบิดเกียจคร้านบ่อยๆ ครั้นมีระดูออกมาแล้วก็หายไป
โลหิตปกติโทษทั้ง 5 ประการนี้ อธิบายไว้พอเป็นที่สังเกตของแพทย์ เพราะโลหิตปกติโทษ จะมีอยู่แต่เท่านั้นหามิได้ ย่อมมีอยู่ทั่วไปทั้งอาการ 32 ซึ่งชุ่มแช่อยู่ทั่วไปทั้งตัว ด้วยลม 6 จำพวก และลมทั้งหลายพัดให้เดินไปมาระหว่างเส้นเอ็น เนื้อหนัง และ อวัยวะทั้งหลายในร่างกาย เป็นธรรมดาของสัตว์โลก เตโชธาตุทั้ง 4 นั้น ทำหน้าที่ให้โลหิตในกายอบอุ่นแล้ว ถ้าเตโชธาตุกล้า หรือร้อนเกินปกติ โลหิตก็ร้อนทนไม่ได้ ก็จะผุดออกมานอกผิวหนัง แพทย์จึงสมมุติว่าเป็นเม็ดกำเดา รากสาดปานดำปานแดง และกาฬทั้งปวง นั่นคือเหตุของโลหิตนั่นเอง

จึงกล่าวได้ว่า ดี กำเดา ก็คือเตโช ส่วนโลหิตเป็นเจ้าสมุฏฐาน อันว่าโลหิตนั้นเป็นธรรมชาติของสตรี ผู้ใดเคยมีระดูมานั้น หากลมกองโตเคยกำเริบ ลมกองนั้นจะกำเริบทุกเดือนทุกครั้ง จึงเรียกว่า “ปกติโลหิต” หรือโลหิตประจำเดือน

แต่ถ้าถึงกำหนดระดูมีมา อาการแปลกไปอย่างอื่น และลมกองที่เคยพัดประจำเกิดไม่พัด ลมกองอื่นจึงเข้าพัดแทน อาการจึงแปลกไปจากทุกเดือนอย่างนี้เรียกว่า “โลหิตทุจริตโทษ”

2. หญิงมีระดูมาแล้วเกิดแห้งไป เพราะเหตุ 5 ประการ คือ
มีกามระคะจัด อำนาจแห่งไฟราคะเผาโลหิตให้แห้งไป
บริโภคอาหารเผ็ดร้อนเกินไป เป็นเหตุให้ระดูพิการได้
มีโทสะเป็นนิจ หรือทำงานหนักเกินไป เป็นเหตุให้โลหิตนั้นแห้งไป
มีโมหะอยู่เป็นนิจ หรือออกกำลังมากเกินไป เป็นเหตุให้โลหิตนั้นแห้งไป
เป็นด้วยกรรมพันธุ์ ติดต่อมาจากบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ของหญิงนั้น
หญิงจำพวกใด เมื่ออายุได้ 14–15 ปี ขึ้นไป และสิ้นกำหนดตานซางแล้ว ต่อมโลหิตระดูของหญิงนั้นก็บังเกิดมาตามประเวณีของสตรีภาพ ให้แพทย์พิจารณาดูว่า โลหิตนั้นเกิดจากที่ใด แล้วให้ปรุงยา ชื่อ ยาพรหมภักดิ์ เป็นยาประจุโลหิตร้ายเสียให้สิ้น แล้วจึงแต่งยาบำรุงไฟธาตุให้กิน เพื่อปรับธาตุทั้ง 4 ให้เสมอกัน แล้วจึงแต่งยาชื่อว่า ยากำลังราชสีห์ ยากำลังแสงพระอาทิตย์ บำรุงโลหิตให้บริบูรณ์แล้ว เมื่อใดสัตว์ที่จะมาปฏิสนธิก็จะเกิดขึ้นได้เมื่อนั้น

หญิงใดมีโลหิตพิการ บางจำพวกโลหิตนั้นเป็นก้อนกลมเท่าฟองไข่เป็ดอยู่ในท้องน้อย และหัวเหน่า บางพวกติดอยู่ในทรวงอก บางจำพวกกลมกลิ้งอยู่ในท้องน้อยเจ็บปวดดุจดังเป็นบิด บางทีให้ขึ้นจุกอยู่ยอดอก เจ็บปวดดังจะขาดใจตายทั้งกลางวัน และกลางคืน ถ้าถึง 7 วันตาย

3. ว่าด้วยริดสีดวงมหากาฬ 4 จำพวก
เกิดที่คอ
เกิดในอก
เกิดในทวาร
เกิดในลำไส้
ลักษณะอาการ ที่ทรวงอก และลำคอ เป็นเม็ดขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว เมื่อสุกแตกออกเป็นบุพโพโลหิตออกมา แล้วเลื่อนเข้าไปหากันบานดังดอกบุก เป็นบุพโพโลหิตไหล ไม่รู้ก็ว่าเป็นฝีที่ลำไส้ ลำคอ เกิดขึ้นขนาดเมล็ดข้าวโพดที่ทวารเบา ตั้งขึ้นเป็นกองเป็นหมู่ประมาณ 9-10 เม็ด ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว เมื่อสุกแตกออกเป็นบุพโพโลหิตระคนกัน เลื่อนเข้าหากัน มีสัณฐานบานดังดอกบุก

4. ลักษณะโลหิตทุจริตโทษ 4 ประการ มี ดังนี้
โลหิตระดูร้าง เมื่อจะบังเกิดโลหิตระดูมิได้มาตามปกติ บางทีให้ดำ และมีกลิ่นเหม็นเน่า บางทีจางดุจน้ำชานหมาก บางทีใสดุจน้ำคาวปลา บางทีขาวดุจดังน้ำซาวข้าว กระทำให้เจ็บปวด เป็นไปต่างๆ ครั้นเป็นนาน เข้ามักกลายเป็น มานโลหิต
โลหิตคลอดบุตร เมื่อจะบังเกิด ทำให้โลหิตคั่งเข้าเดินไม่สะดวก แล้วตั้งขึ้นเป็นลิ่มเป็นก้อน ให้แดกขึ้นแดกลง บางทีให้คลั่ง ขบฟัน ตาเหลือกตาช้อน ขอบตาเขียว และริมฝีปากเขียว เล็บมือเล็บเท้าเขียว สมมุติว่าปีศาจเข้าสิง
โลหิตต้องพิฆาต อันตกต้นไม้ และถูกทุบถองโบยตี ถ้าเป็นดังกล่าวท่านว่า ไข้นั้นถึงพิฆาตเพราะโลหิตที่ถูกกระทำนั้นกระทบช้ำระคนกับโลหิตระดู เกิดแห้งกรังเข้าติดกระดูกสันหลังอยู่ จึงได้ชื่อว่า โลหิตแห้งกรัง เพราะอาศัยโลหิตพิการ
โลหิตเน่า อาศัยโลหิตระดูร้าง โลหิตคลอดบุตร โลหิตต้องพิฆาต และโลหิตตกหมกซ้ำเจือมาเน่าอยู่ จึงเรียกว่า โลหิตเน่า เป็นใหญ่กว่าลมทั้งหลาย เมื่อจะให้โทษ โลหิตเน่ามีพิษอันกล้าแล่นไปทุกขุมขน บางทีแล่นเข้าจับหัวใจ บางทีแล่นออกผิวเนื้อ ผุดเป็นวงดำ แดง เขียว ขาวก็มี บางทีผุดขึ้นดังยอดผด ทำพิษให้คันเป็นกำลังให้ทุรนทุรายยิ่งนัก
โลหิตตกหมกซ้ำ ก็อาศัยโลหิตเน่า เหตุเพราะแพทย์ใช้ยาประคบ ยาผาย ยาขับโลหิตไม่ถึงกำลัง หมายถึงให้ยาน้อยกว่ากำลังเลือด และโลหิตนั้นเกิดระส่ำระสายออกไม่หมดสิ้นเชิง จึงตกหมกช้ำอยู่ ได้ชื่อว่า โลหิตตกหมกช้ำ บางทีตกช้ำอยู่ในเส้นเอ็น หัวเหน่า เมื่อจะให้โทษก็คุมกันเข้า กระทำให้เป็นฝีมดลูก ฝีปอดคว่ำ ฝีเอ็น ฝีอัคนีสันต์ ฝีปลวก และมานโลหิต
5. โลหิตที่เกิดจากกองธาตุ มี 4 อย่าง
โลหิตเกิดแต่กองเตโชธาตุ ถ้าเกิดแต่สตรีผู้ใด มีสามีแล้ว หรือไม่มีก็ดี เมื่อระดูจะมีมา นั้นกระทำให้ตึงไปทั่วตัวแล้วระดูจึงมีมา ให้ร้อนทางช่องคลอดดุจถูกพริก โลหิตที่ออกมานั้นเป็นฟองมีสีเหลืองน้ำฝางอันบุคคลเอาน้ำส้มมะนาวบีบลง สีนั้นก็เหลืองไป กระทำให้ร้อนผิวเนื้อมาก ให้อาเจียน ให้เหม็นอาหาร บริโภคอาหารไม่ได้ สะบัดร้อนสะบัดหนาว
โลหิตอันบังเกิดแต่กองวาโยธาตุ ถ้าเกิดแก่สตรีใด ที่มีสามีแล้ว หรือยังไม่มีสามีก็ดี เมื่อ มีระดูมานั้นทำให้ท้องขึ้นท้องพอง ให้จุกให้เสียดเป็นกำลัง ให้ตัวร้อน ให้จับเป็นเวลา ให้คลื่นเหียนอาเจียนแต่ลมเปล่า ระดูมีมาไม่สะดวก มีสีดุจน้ำดอกคำอันจาง ให้ปวดเป็นกำลัง
โลหิตอันบังเกิดแต่กองอาโปธาตุ ถ้าเกิดแก่สตรีผู้ใด มีสามีแล้ว หรือยังไม่มีก็ดี เมื่อระดูจะมีมานั้นกระทำให้ลงไปวันละ 5-6 ครั้ง ระดูนั้นเดินออกมาเป็นเมือกเป็นมัน เหม็นคาวยิ่งนัก โลหิตนั้นใส บางทีเป็นเปลวดุจปะระเมหะ และไข่ขาว เดินไม่สะดวก ให้ปวดท้องมากบริโภคอาหารไม่ได้
โลหิตอันเกิดแก่กองปถวีธาตุ เกิดแก่สตรีผู้ใด มีสามีแล้ว หรือยังไม่มีสามีก็ดี เมื่อระดูจะมีมานั้นให้เมื่อยทุกข้อทุกลำทุกกระดูก ระดูเดินหยดย้อยไม่ได้สะดวก บางทีให้เป็นมันเป็นเมือก บางทีเป็นปะระเมหะระคนออกมากับโลหิต เหนียวดุจยางมะตูม ทำให้ร้อนให้แสบ จุกเสียด ให้ท้องขึ้นเป็นกำลัง ระดูนั้นมีสีดำ แดง ขาว เหลือง ระคนกันออกมา มีกลิ่นคาวยิ่งนัก ให้ปวดในอุทรเป็นกำลัง
6.ว่าด้วยยาสำหรับสตรี
ยาบำรุงไฟธาตุ
ส่วนประกอบดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง ผลผักชี ว่านน้ำ หัวแห้วหมู พิลังกาสา บอระเพ็ด ผิวมะกรูด ยาทั้งนี้ หนักสิ่งละ 1 ส่วน เสมอภาค
วิธีใช้บดเป็นผง ละลายน้ำส้มซ่า รับประทานครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ 3 เวลา ก่อนอาหาร
สรรพคุณกินบำรุงไฟธาตุให้บริบูรณ์
ยาบำรุงโลหิต
ส่วนประกอบเบญจกูล หนักสิ่งละ 1 บาท โกฐทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 สิ่งละ 6 สลึง ผลจันทร์ ดอกจันทร์ กระวาน กานพลู หนักสิ่งละ 1 สลึง เลือดแรด ดอกคำไทย สิ่งละ 3 บาท ฝางเสน 2 บาท เกสรบัวหลวง ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกมะลิ ดอกจำปา ดอกกระดังงา กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะลูด อบเชยเทศ จันทน์ทั้ง 2 ขมิ้นเครือ เอาส่วนเท่ากัน
วิธีใช้ต้มรับประทาน
สรรพคุณให้โลหิตงามดี
ยาแก้เลือดลมทำพิษหลังคลอดบุตร
ส่วนประกอบ ไพล เปลือกกุ่มทั้งสอง ลำพันแดง รากละหุ่งแดง ผลกระวาน กานพลู ข่า ขมิ้นอ้อย รากหญ้าพันงูแดง รากอังกาบ ผลสมอไทย ผลเสมอพิเภก หัวตะไคร้หอม ผลช้าพลู รากเจตมูลเพลิง ขิงแครง ขิงแห้ง เปลือกราชพฤกษ์ รากกระพังโหมทั้งสอง ดีปลี สะค้าน เปลือกโลด ว่านเปราะ เทียนทั้ง 5 โกฐหัวบัว โกฐกระดูก โกฐสอ โกฐเขมา โกฐพุงปลา เครื่องสมุนไพร เอาหนักสิ่งละ 1 บาท เครื่องเทศเอาหนัก สิ่งละ 2 สลึง
วิธีใช้ทำเป็นผง ปั้นแท่งไว้ ละลายด้วยน้ำสุกก็ได้ น้ำขิงก็ได้ น้ำข่าก็ได้
สรรพคุณแก้เลือดลมดีขึ้น ชัก อ้าปากไม่ออก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง และแก้ลมทั้งปวง ในปัสสาวะ
ยาปลูกธาตุ
ส่วนประกอบดอกดีปลี รากช้าพลู ผักแพวแดง เถาสะค้าน ขิงแห้ง ผลผักชีล้อม ว่านน้ำ หัวแห้วหมู ผลพิลังกาสา ผิวมะกรูด ยาทั้งนี้ใช้ส่วนเสมอภาค พริกไทยร่อนเท่ายาทั้งหลาย      
วิธีใช้ บดเป็นผงละลายน้ำผึ้งก็ได้ น้ำส้มซ่าก็ได้ สุราก็ได้ ให้กิน
สรรพคุณปลูกไฟธาตุให้โลหิตงาม ถ้าไม่มีระดู ให้ระดูมีมา ถ้าแม่ลูกอ่อนกิน ทำให้น้ำนมมาก ทั้งหาโทษมิได้เลย ดีนักแล เป็นยาอายุวัฒนะด้วย
ยาแก้ระดูขัด
ส่วนประกอบ หัวดองดึง 8 บาท รากเจตมูลเพลิง ดอกดีปลี เทียนขาว หนักสิ่งละ 1 บาท   
วิธีใช้ บดเป็นผงละลายสุรากิน  
สรรพคุณ แก้ขัดระดูปีหนึ่งหรือ 2 ปี โลหิตที่ตกค้างอยู่นั้นมักกลายเป็นมานโลหิต มานหิน มานน้ำ เป็นริดสีดวงต่างๆ ได้
ยาดองสำหรับอยู่ไฟไม่ได้
ส่วนประกอบ รากส้มกุ้ง หัวข้าวเย็น รากช้าพลู สมุลแว้ง ขมิ้นเครือ ผลจันทน์ ผลเอ็น สิ่งละ 1 สลึง มะแว้งทั้ง 2 สิ่งละ 1 สลึง จันทน์ทั้ง 2 สิ่งละ 1 สลึง ตรีผลา ตรีกฏุก สิ่งละ 2 สลึง เจตมูลเพลิง เทียนดำ เทียนขาว สิ่งละ 2 สลึง รากเสนียด 3 สลึง
วิธีทำ ดองสุราหมกข้าวเปลือกไว้ 3 วัน ให้กิน
สรรพคุณ สำหรับอยู่ไฟไม่ได้ อาเจียน บริโภคเผ็ดร้อนไม่ได้ แก้มุตกิต มุตฆาต ได้ด้วย
วิธีใช้การให้ยาตามตำรับเภสัช
ยาบำรุงโลหิต
ส่วนประกอบ ขิงแห้ง ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ช้าพลู ขมิ้นเครือ เถามวกแดง กำลังวัวเถลิง ดอกสารภี ดอกพิกุล ดอกบุนนาค เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ 2 ส่วน  ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน โกฐหัวบัว โกฐเขมา โกฐสอ โกฐจุฬาลัมพา โกฐเชียง เนื้อลูกสมอไทย เนื้อลูกสมอดีงู เนื้อลูกสมอพิเภก เปลือกชะลูด เปลือกอบเชยเทศ จันทน์แดง แก่นแสมสาร แสมทะเล กฤษณา หนักสิ่ง 1 ส่วน  ครั่ง หนัก 8 ส่วน  ฝาง ดอกคำไทย หนักสิ่งละ 10 ส่วน
สรรพคุณ บำรุงโลหิต
ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น ก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุกเป็นน้ำกระสายยา
ยาประสะไพล
ส่วนประกอบ ผิวมะกรูด ว่านน้ำ กระเทียม หัวหอม พริกไทย ดีปลี ขิง ขมิ้นอ้อย เทียนดำ เกลือสินเธาว์ หนักสิ่งละ 8 ส่วน   การบูร หนัก 1 ส่วน  ไพล หนัก 81 ส่วน
สรรพคุณ แก้ระดูไม่ปกติ จุกเสียด ขับน้ำคาวปลา
ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก หรือน้ำสุรา เป็นน้ำกระสายยา

คัมภีร์อติสาร

คัมภีร์อติสาร
ในบทนี้กล่าวเกี่ยวกับสาเหตุ และการปฏิบัติตัวที่มีผลต่อการเกิดโรคฝี ลักษณะอาการของฝีที่จำแนกตามแหล่งที่เกิดฝี ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยแยกโรคฝีต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไว้ ตามรายละเอียดของคัมภีร์ ดังนี้

         คัมภีร์อติสาร ว่าด้วยลักษณะอติสาร 2 จำพวก คือ ปัจจุบันกรรมอติสาร และโบราณกรรมอติสาร

1. ปัจจุบันกรรมอติสาร มี 6 จำพวก
1) อุทรวาตอติสาร
2) สุนทรวาตอติสาร
3) ปัสสยาวาตอติสาร
4) โกฏฐาสยาวาตอติสาร
5) กุจฉิสยาวาตอติสาร
6) อุตราวาตอติสาร

2. โบราณกรรมอติสาร มี 5 จำพวก
1) อมุธาตุอติสาร
2) ปฉัณณธาตุอติสาร
3) รัตตธาตุอติสาร
4) มุศกายธาตุอติสาร
5) กาฬธาตุอติสาร

1. ลักษณะอติสารอันเป็นปัจจุบันกรรม มีดังนี้

     1) อุทรวาตอติสาร
บังเกิดขึ้นเพื่อ (เพราะ) สะดือพอง โดยอำนาจผิงสะดือไม่ได้แต่ยังเยาว์ และลมกองนี้ติดตัวมาจนโต กระทำให้ท้องขึ้นไม่รู้วาย มักกลายเป็นกระษัย บางทีให้ลง ให้ปวดมวน ครั้นกินยาก็หายไป ครั้นถูกเย็นเข้าก็กลับเป็นมาอีก ให้ขบปวดท้องยิ่งนัก

ยาแก้อุทรวาตอติสาร
ส่วนประกอบ  สะค้าน  รากช้าพลู  รากเจตมูลเพลิง  ตรีกฏุก  ผิวมะกรูด  ใบคนทีสอ  มหาหิงคุ์  เอาเสมอภาค
วิธีใช้     บดเป็นผงทำแท่งไว้ ละลายน้ำร้อนรับประทาน
สรรพคุณ  แก้อุทรวาตอติสาร

     2) สุนทรวาตอติสาร
เกิดแต่กองอุทธังคมาวาตา  พัดอยู่ในกระหม่อม เมื่ออยู่ในครรภ์มารดา กระหม่อมเปิด ครั้นออกจากครรภ์มารดาแล้ว กระหม่อมก็ยังเปิด เมื่อได้ 3 เดือน กระหม่อมก็ยังไม่ปิด จึงบังเกิดโทษ คือ ลมอโธคมาวาตาหย่อน ลมอุทธังคมาวาตากำเริบพัดลงมา ทำให้ไส้พองท้องใหญ่ คือ ให้ลงกล่อนแล้วเป็นมูกเลือดปวดมวน ครั้นกินยาปิดก็ให้จุกขึ้นมา กินยาเปิดก็ให้ลงไป โรคดังนี้มักแปรเป็นมาน 5 ประการ คือ:-

(1) มานเลือด
(2) มานลม
(3) มานหิน
(4) มานน้ำเหลือง
(5) มานกระษัย

ยาแก้ชื่อยาเนาวทวาร
ส่วนประกอบ  ลูกจันทน์  เทียนสัตตบุษย์  ดีปลี  กะทือ  ไพล  หอม
ดินถนำ  กระเทียม  ใช้ส่วนเสมอภาค
วิธีใช้  บดเป็นผง ใช้ดีสัตว์ละลายน้ำมะนาวเป็นกระสาย ทำเป็นแท่งไว้ แทรกพิมเสนละลายน้ำร้อนก็ได้ น้ำมะกรูดก็ได้ รับประทาน
สรรพคุณ แก้สุนทรวาตอติสาร

3) ปัสสยาวาตอติสาร
มีอาการบังเกิดแต่กองอชิน คือ สำแดงกระทำให้ลงไปดุจกินยารุ กินอาหารไม่ได้อยู่ท้อง ให้อาเจียนมีสีเขียว สีเหลือง สมมุติว่าป่วง 5
ประการ คือ ป่วงน้ำ ป่วงสุนัข ป่วงลม ป่วงหิน และป่วงวานร (ป่วงลิง)

ยาแก้ปัสยาวาตอติสาร
ส่วนประกอบ หนังปลากระเบนเผา ผิวส้มโอ หนังแรดเผา ลูกมะคำดีควาย น้ำตาลกรวด ผิวไม้ไผ่ มะม่วงกะล่อนเผา
วิธีใช้ แทรกพิมเสน บดเป็นผงปั้นเป็นแท่งไว้ ละลายน้ำปูนใส รับประทาน
สรรพคุณ  แก้ปัสยาวาตอติสาร

4) โกฏฐาสยาวาตอติสาร
เกิดตามลำไส้ ลมจำพวกนี้เลี้ยงสัตว์ทั้งหลาย ถ้าพัดไม่ได้ตลอดเมื่อใดย่อมให้ลงไป บริโภคสิ่งใดก็เป็นสิ่งนั้นออกมา สมมุติว่าไส้ตรง ลำกองนี้พัดอุจจาระปัสสาวะให้ลงสู่คูถทวาร คูถทวารก็เปิด ลมทวารหากรู้กันเอง ถ้าไม่รู้กันตราบใด อาการก็แปรไปต่างๆ

ยาแก้โกฏฐาสยาวาตอติสาร
ส่วนประกอบ  โกฐสอ โกฐเชียง โกฐกระดูก โกฐหัวบัว โกฐพุงปลา
ลูกสมอเทศ ลูกสมอไทย พริกไทย ขิง ดีปลี กะทือ ไพล ว่านร่อนทอง ว่านนางคำ การบูร ลูกจันทน์ มหาหิงคุ์ ใช้ส่วนเสมอภาค
วิธีใช้  บดเป็นผง ปั้นเป็นแท่งไว้ ละลายน้ำดอกแคต้ม รับประทาน
สรรพคุณ  แก้โกฏฐาสยาวาตอติสาร

5) กุจฉิสยาวาตอติสาร
ลมกองนี้เกิดอยู่นอกไส้ พัดแต่เพียงคอลงไปทวารหนักทวารเบา เมื่อจะให้โทษ ประมวลกันเข้าเป็นก้อนในท้องแต่อยู่นอกไส้ กระทำให้ลงท้องเหม็นคาว แต่ไม่ปวดมวน อยู่ๆ ก็ไหลออกมาเอง สมมุติว่าทวารเปิด

ยาแก้กุจฉิสยาวาตอติสาร
ส่วนประกอบ  โกฐสอ โกฐเขมา เทียนดำ เทียนขาว ลูกจันทน์ กานพลู กำยานทั้งสอง ใช้ส่วนเสมอภาค
วิธีใช้  บดเป็นผงละเอียด ทำเป็นแท่งไว้ ละลายน้ำปูนใส รับประทาน
สรรพคุณ  แก้กุจฉิสยาวาตอติสาร วิเศษนัก

6) อุตราวาตอติสาร
เกิดแต่กองวาโย 16 จำพวก เป็นสาธารณะทั่วไปทุกแห่ง (แจ้งในคัมภีร์ชวดาร) ถ้ามีลงแต่สิ่งเดียว ให้พึงรู้ว่าอาการยังกระทำอยู่ ถ้าลงไปแพทย์วางยาไม่ถูกกลายไปให้ปวดมวนเป็นมูกเลือด สมมุติว่าเป็นบิด

ยาแก้อุตราวาตอติสาร
ส่วนประกอบ  จันทน์แดง จันทน์ขาว ดอกฟักทอง ดอกบวบ เกสรบุนนาค เกสรสารภี สิ่งละ 1 ส่วน เกสรบัวหลวง 4 ส่วน
วิธีใช้  บดเป็นผงละเอีอด ทำแท่งไว้ ละลายน้ำดอกจันทน์แทรกกับพิเสนรับประทาน
สรรพคุณ  แก้อุตราวาตอติสาร วิเศษนัก     

ลักษณะอาการของโบราณกรรมอติสาร 5 อย่าง
1) อมุธาตุอติสาร

2) ปฉัณณธาตุอติสาร

3) รัตตธาตุอติสาร

4) มุศกายธาตุอติสาร

5) กาฬธาตุอติสาร

      1) อมุธาตุอติสาร 

ว่าในกองเตโชธาตุ อันชื่อว่า ปริณามัคคีหย่อน เผาอาหารไม่ย่อย ให้ผะอืดผะอมแดกขึ้นแดกลง ให้ลงนับเวลาไม่ได้ ครั้นสิ้นอาหารแล้ว ก็ให้ลงเป็นน้ำล้างเนื้อเหม็นคาว และให้กระหายน้ำ คอแห้ง อกแห้ง ปากแห้ง ฟันแห้ง

ยาแก้ชื่อยาอมุธาตุอติสาร

ขนานที่ 1

ส่วนประกอบ  มหาหิงคุ์ รากหญ้านาง แก่นสน แก่นสัก กรักขี แก่นประดู่ ดอกคำไทย ดอกงิ้ว ครั่ง สีเสียดทั้ง 2 เอาเสมอภาค

วิธีใช้  บดเป็นผงละเอียด ปั้นแท่งไว้ ถ้าจะแก้ลงเลือด ละลายน้ำใบเสนียดต้ม รับประทาน

สรรพคุณ  แก้อมุอติสาร หายแล

ขนานที่ 2

ส่วนประกอบ  รากบัวหลวง รากมะกอก โกฐหัวบัว โกฐสอ จันทน์ทั้ง 2 เทียนดำ เกสรบัวหลวง เกสรสารภี เกสรบุนนาค กระดูกงูเหลือม เปลือกโลด ชะลูด รากสลอดน้ำ รากทองหลางหนาม ใบผักคราด ใบกระเพรา เมล็ดมะนาว เสมอภาค

วิธีใช้  บดเป็นผงละเอียด ละลายน้ำรากบัวรับประทาน

สรรพคุณ  แก้กระหายน้ำ แก้อมุธาตุอติสาร ดีนักแล

     2) ปฉัณณธาตุอติสาร 

อาการกระทำให้ลงเป็นน้ำชานหมาก และน้ำแตงโม แล้วทำให้จุก ให้แดกเป็นกำลัง แน่นในลำคอ กินข้าวน้ำไม่ได้ ให้อาเจียนลมเปล่า

ยาแก้ปฉัณณธาตุอติสาร

ส่วนประกอบ  ใบกรด  ใบทับทิม  ใบเทียนย่อม สิ่งละ 1 ส่วน  ใบข่า 2
ส่วน
วิธีใช้  บดเป็นผงละเอียด ทำแท่งไว้ ละลายน้ำปูนใส รับประทาน
สรรพคุณ  แก้ปฉัณณธาตุอติสาร หายดีแล

3)  รัตตธาตุอติสาร
เกิดแต่กองปถวีธาตุ มีเกศาเป็นต้น มัตถเกมัตถลุงคังเป็นที่สุดอาการ และประเภท มักให้ลงประมาณไม่ได้ ให้อุจจาระแดงดังโลหิตเน่า และมีเสมหะระคน บางทีให้เขียวดังใบไม้

ยาแก้รัตตธาตุอติสาร

ขนานที่ 1
ส่วนประกอบ  ลูกจันทน์เทศ  ลูกเบญกานี  กฤษณา จันทน์ทั้ง 2 กำยาน  สีเสียดทั้ง 2  ชันตะเคียน  พริกไทย  ขิง  กำมะถัน เสมอภาค วิธีใช้ บดเป็นผงละเอียด ทำแท่งไว้ ละลายน้ำครั่งก็ได้ รับประทาน
สรรพคุณ  แก้รัตตธาตุอติสาร และอติสารทั้งปวง วิเศษนัก

ขนานที่ 2
ส่วนประกอบ โกฐทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 ลูกเร่ว กระวาน กานพลู สิ่งละ 1 ส่วน ฝาง เปลือกปะโลง แกแล เปลือกหว้า ขมิ้นอ้อย ลูกทับทิมอ่อน สิ่งละ 2 ส่วน
วิธีใช้  บดเป็นผงละเอียด ทำแท่งไว้ ละลายน้ำใบชาต้ม รับประทาน
สรรพคุณ แก้รัตตธาตุอติสาร หายแล

      4) มุศกายธาตุอติสาร 

เกิดแต่กองอาโปธาตุ มีปิตตังเป็นต้น มุตตังเป็นที่สุด ลักษณะอาการ คือ บริโภคอาหารสำแดงธาตุ ให้ลงเป็นโลหิตเสมหะเน่าเหม็น ดังกลิ่นซากศพ ให้กุจฉิสยาวาต และโกฏฐาสยาวาตระคนกัน ให้ท้องขึ้นปะทะหน้าอก ให้แน่น ให้อาเจียนลมเปล่า ให้เหม็นอาหาร จะลุกนั่งไม่ได้ให้หน้ามืดยิ่งนัก

ยาแก้มุศกายธาตุอติสาร

ขนานที่ 1

ส่วนประกอบ  จันทน์หอม  รากมะอึก  สมอไทย  ผลกระดอม  บอระเพ็ด เสมอภาค

วิธีใช้  ต้ม 3 เอา 1 รับประทาน

สรรพคุณ  แก้มุศกายธาตุอติสาร วิเศษนัก

ขนานที่ 2

ส่วนประกอบ  จันทน์ทั้ง 2  กรุงเขมา  กระพังโหม  สมอไทย

เสมอภาค

วิธีใช้  ต้ม 3 เอา 1 แทรกขันทศกร รับประทาน

สรรพคุณ  แก้มุศกายธาตุอติสาร ดีนักแล

     5) กาฬธาตุอติสาร มี 5 อย่าง คือ

         (1) กาฬพิพิธ

(2) กาฬพิพัธ

(3) กาฬมูตร

(4) กาฬสูตร

(5) กาฬสิงคลี


          (1) กาฬพิพิธ
ขี้นภายในแต่ขั้วตับ ให้ลงไปเป็นเลือดสดกำหนดมันถูกยาก็ฟังยาไป 4 – 5 วัน อาการประเภทมันก็กลับกลายให้ลงไปเป็นเลือดสดเน่าหมดถ้วนก็ปวดมวนเพียงขาดใจ ตั้งแต่จะรากไปให้แน่นหน้าอุราร้อน สะอึกซ้อนเป็นชั้นๆ จะแก้กันก็ขัดสน สะอึกให้ก็เวียนวนแต่ลงร่ำกระหน่ำใน ครั้นแก้ที่ลงห่าง สะอึกดังเพียงขาดใจ ให้ร้อนทุรนไป กายก็ผุดเป็นแว่นวงเขียว แดง ไปทั่วกาย เมื่อจะตายก็กลับลงเป็นเลือดสด กำหนดปลงชีพนั้นในวันเดียว (เว้นตาย)

         (2) กาฬพิพัธ 
นั้นขึ้นในหัวใจให้ขุ่นมัว ขั้วตับก็ดุจเดียวกัน แต่อาการนั้นผิดกัน ลงดุจน้ำล้างเนื้อ เมื่อมันเน่า และเหม็นกลิ่น เหมือนซากศพที่ทรุดโทรมอยู่แรมคืน ให้หอบเป็นกำลัง สติยังไม่ยั่งยืน ผู้ใดจะได้คืนชีพนั้นอย่าสงกา (อย่าสงสัย)

         (3) กาฬมูตร
มันผุดกินอยู่ในตับให้ลงมาเป็นแต่โลหิต อุจจาระเน่า และดำไปเป็นก้อน เป็นลิ่มๆ ดุจเป็นดังถ่านไฟ กินปอดให้หอบ ให้กระหายน้ำเป็นกำลัง กินม้ามให้จับหลับเนตร พิศก็ดูดังปีศาจอันจริงจัง เข้าสิงอยู่ในคน เท้าเย็น และมือเย็น นั่งก้มหน้าไม่เงยยลหน้าคน พิการพิกลให้พ่นบ่นพะพึมไป อย่าจะกระทำ กระสือซ้ำเข้าคุมใจ โทษนี้ใช่อื่นไกล กำเนิดโรคมารยา ครั้นเมื่อจะดับสูญก็เพิ่มพูนด้วยวาตา พัดแผ่นเสมหะมาเข้าจุกแน่นในลำคอ จึงตัดอัสสาสะให้ขาดค้างเพียงลำคอ หายใจสะอื้นต่อจะตายหนอแล้วควรจำ  

         (4) กาฬสูตร 
นั้นให้ลง เพท (เวจ หรือถ่ายอุจจาระ) ที่ลงก็ดูดำดังครามอันเขียวคล้ำ ให้เหม็นกลิ่นดังดินปืน ให้ราก ให้อยากน้ำ จะยายำไม่ฝ่าฝืน กลืนยาก็ยาคืน สะท้านรากลำบากใจ เสโทอันซึมซ่าน พิการกายให้เย็นไป หยุดลงก็ขาดใจ อันโทษนั้นอย่าสงกา (อย่าสงสัย)

         (5) กาฬสิงคลี
กาฬ และกาฬนั้นย่อมปรากฏเกิดแก่ดีมา ให้ซึมรั่วล้นไหลไป อุจจาระ ปัสสาวะ ทั้งเนื้อเนตรก็เหลืองใส เหลืองสิ้นตลอดในกระดูกดังขมิ้นทา ให้ร้อนทุรน ราก กระหาย หอบ เป็นนักหนา เชื่อมมึน และกิริยา ให้พะเพ้อละเมอไป โทษนี้ใน 3 วัน จักอาสัญอย่าสงสัย เพท (เวจ หรือถ่ายอุจจาระ) เมื่อจะขาดใจ ทะลึ่ง (เหยียดตัวพุ่งขึ้น) ไปจนสิ้นชนม์ (ตาย)

ยาแก้กาฬธาตุอติสาร

ขนานที่ 1
ส่วนประกอบ  จันทน์ทั้ง 2 ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี เนระพูสี ลูกเบญกานี ลูกจันทน์ เอาเสมอภาค ลูกตะบูนเท่ายาทั้งหลาย
วิธีใช้ บดเป็นผงละเอียด ปั้นเป็นแท่งละลายน้ำลูกพลับจีน รับประทาน
สรรพคุณ  แก้กาฬธาตุอติสาร วิเศษนัก
(หลักฐานที่อ้างอิง ตำรายาศิลาจารึก วัดพระเชตุพนฯ) 


ลักษณะอชินธาตุโรคอติสาร
         ว่าด้วยลักษณะอาการลงเป็นเพื่อ (เพราะ) สำแดง 2 ประการ คือ

 1) อชินธาตุ เป็นด้วยบริโภคอาหารอันไม่ควรแก่ธาตุ

   2) อชินโรค เป็นด้วยบริโภคยาอันไม่ควรแก่โรค

ประเภทอชิน  4 ประการ
1) เสมหะอชิน
2) ปิตตะอชิน
3) วาตะอชิน
4) สันนิปาตะอชิน
   1) เสมหะอชิน
บังเกิดเพื่อ (เพราะ) บริโภคยาก็ดี ของกินก็ดี อันไม่ควรแก่โรค และธาตุ มักกระทำให้ลงในเวลาเช้า มีอาการให้คอแห้ง อกแห้ง ให้สีอุจจาระขาว มีกลิ่นคาวระคนด้วยปะระเมหะ เป็นเปลว แล้วให้ปวดคูถทวารเป็นกำลัง ถ้าแก้ไม่ฟังพ้นกำหนด 12 ราตรีไป ก็จะเข้าอมุธาตุอติสาร จัดเป็นปฐมอติสารชวร ถ้าจะแก้ให้แก้แต่ยังอยู่ในเสมหะอชิน

ยาแก้เสมหะอชิน

ขนานที่ 1
ส่วนประกอบ  ตรีกฏุก  แห้วหมู  ผลมะตูมอ่อน  ผลตะบูน  ผลเบญกานี การบูร  ยางตะเคียน  น้ำประสานทอง สิ่งละ 1 ส่วน  เขาควายเผือกเผา 2 ส่วน  เจตมูลเพลิง 4 ส่วน  สะค้าน 8 ส่วน  รากช้าพลู 12 ส่วน
วิธีใช้  บดป็นผงละเอียด ทำแท่งไว้ ละลายน้ำมะแว้งแทรกพิมเสน
รับประทาน
สรรพคุณ  แก้เสมหะอชิน หายแล

ขนานที่ 2
ส่วนประกอบ  โกฐสอ  โกฐกระดูก  โกฐหัวบัว  เทียนดำ  จันทน์ทั้ง 2 ว่านร่อนทอง  เนระพูสี  ครั่ง  ฝางเสน  ขมิ้นอ้อย  ขมิ้นชัน สิ่งละ 1 ส่วน กานพลู 4 ส่วน
วิธีใช้  บดเป็นผงละเอียด ทำแท่งไว้ ละลายน้ำเปลือกกระท้อน แทรกพิมเสน รับประทาน
สรรพคุณ  แก้เสมหะอชิน และแก้อติสาร 11 จำพวก

2) ปิตตะอชิน
บังเกิดเพื่อ (เพราะ) บริโภคยาก็ดี ของกินก็ดี อันไม่ควรแก่โรค และธาตุนั้น มักกระทำให้ลงในเวลากลางวัน มีอาการให้ร้อนในอก ให้สวิงสวาย ให้หิวโหยหาแรงไม่ได้ ให้ตัวร้อน ให้จับดุจไข้ราก สาด สันนิบาต ให้อุจจาระแดง ให้ร้อนตามลำซ่วงทวาร ขึ้นไปตลอดถึงทรวงอก มีกลิ่นดังปลาเน่า ให้ปากแห้ง คอแห้ง มักให้อาเจียน บริโภคอาหารไม่รู้รส ถ้าแก้ไม่ฟังพ้นกำหนด 7 ราตรีไป จะเข้ารัตตธาตุอติสาร จัดเป็นทุติยะอติสารชวร ถ้าจะแก้ให้แก้แต่ยังอยู่ในปิตตะอชิน

ยาแก้ปิตตะอชิน

ขนานที่ 1
ส่วนประกอบ  ผลจันทน์  ดอกจันทน์  คำฝอย  กำยาน  ผลพิลังกาสา ผลสารพัดพิษ  เปลือกปะโลง  แก่นขนุน  ไพล  กระชาย สิ่งละ 1 ส่วน เทียนดำ 2 ส่วน หมากดิบ 4 ส่วน กระเทียมกรอบ 17 ส่วน
วิธีใช้  บดเป็นผงละเอียด ปั้นแท่งไว้ ละลายน้ำเปลือกสะเดาต้ม แทรกพิมเสน รับประทาน
สรรพคุณ  แก้ปิตตะอชิน หายแล

ขนานที่ 2
ส่วนประกอบ  เปลือกสันพร้านางแอ  เถามวกทั้ง 2  ว่านมหาเมฆ
ผลกระดอม  น้ำประสานทอง  ดีปลี  สิ่งละ 1 ส่วน  เปลือกมะเดื่อชุมพร 2 ส่วน
วิธีใช้  บดเป็นผงละเอียด ปั้นแท่งไว้ ละลายน้ำรากเทียนต้ม แทรกพิมเสน รับประทาน
สรรพคุณ  แก้ปิตตะอชิน หายแล

 3) วาตะอชิน
บังเกิดเพื่อ (เพราะ) บริโภคยาก็ดี ของกินก็ดี อันไม่ควรแก่โรค และธาตุนั้น มักกระทำให้ลงในเวลาพลบค่ำ มีอาการให้ท้องขึ้น และแน่นหน้าอกคับใจ ให้คลื่นเหียนอาเจียนแต่ลม ให้เท้าเย็นมือเย็น บริโภคอาหารไม่ได้ คอแห้งมาก ให้อุจจาระอันคล้ำ มีกลิ่นอันเปรี้ยว เหม็นยิ่งนัก ถ้าแก้ไม่ฟังพ้นกำหนด 10 ราตรีไป ก็จะเข้าปฉัณณธาตุอติสาร จัดเป็นตติยะอติสารชวร

ยาแก้วาตะอชิน

ขนานที่ 1
ส่วนประกอบ  รากคันทรง  รากตานหม่อน  รากพุมเลียงทั้ง 2
รากกระทุ่มขี้หมู  เปลือกไม้แดง  อบเชย  สักขี  ผลจันทน์  ตรีกฏุก
สิ่งละ 1 ส่วน  ขมิ้นอ้อย  สีเสียดทั้ง 2  สิ่งละ 2 ส่วน  กานพลู 4 ส่วน กระเทียมกรอบ 6 ส่วน
วิธีใช้  บดเป็นผงละเอียด ปั้นแท่งไว้ ละลายน้ำกระสายยา อันควรแก่โรค รับประทาน
สรรพคุณ  แก้วาตะอชิน หายแล

ขนานที่ 2
ส่วนประกอบ  ผลยาง  ไส้หมากดิบ  ผลกระวาน  ใบกระวาน  จันทน์แดง  ผลผักชีทั้ง 2  เมล็ดผักกาด  รากมะกอก  สิ่งละ 1 ส่วน  ฝางเสน เปลือกมะขามขบ  เปลือกผลทับทิมอ่อน  สิ่งละ 1 ส่วน  ตรีกฏุก 3 ส่วน ใบจันทน์หอม 4 ส่วน
วิธีใช้  บดเป็นผงละเอียด ปั้นแท่งไว้ ละลายน้ำใบเทียนต้ม แทรกพิมเสน รับประทาน
สรรพคุณ  แก้วาตะอชิน หายแล

4) สันนิปาตะอชิน
บังเกิดเพื่อบริโภคยาก็ดี ของกินก็ดี อันไม่ควรแก่โรค และธาตุนั้น มักกระทำให้ลงในเวลากลางคืน มีอาการให้แน่นหน้าอก ให้หายใจสะอื้น ให้สะบัดร้อนสะท้านหนาว ให้เท้าเย็นตัวร้อน ให้ลงไม่ สะดวก ให้สีอุจจาระ ดำ แดง ขาว เหลืองระคนกัน ถ้าแก้ไม่ถอยพ้น 29 วัน ก็จะเข้ามุศกายธาตุ อันระคนด้วยกาฬธาตุอติสารจะบังเกิด จัดเป็นจตุตถะอติสารชวร อันเนื่องอยู่ในปัญจมชวรนั้น ถ้าจะแก้ให้แก้แต่ยังอยู่ในสันนิปาตะอชิน

ยาแก้สันนิปาตะอชิน

ขนานที่ 1
ส่วนประกอบ  รากกล้วยตีบ  รากยอทั้งสอง  เปลือกโลด  รากชิงชี่ เปล้าทั้งสอง  โกฐทั้งห้า  เทียนทั้งห้า  จันทน์ทั้งสอง  เบญจกูล สิ่งละ 1 ส่วน  เปลือกฝิ่นต้น 19 ส่วน
วิธีใช้  บดเป็นผงละเอียด ปั้นแท่งไว้ ละลายน้ำเปลือกกระทุ่มขี้หมู ต้มแทรกพิมเสน รับประทาน
สรรพคุณ  แก้สันนิปาตะอชิน หายแล

ขนานที่ 2
ส่วนประกอบ โกฐทั้งห้า  เทียนทั้งห้า  ผลจันทน์  ดอกจันทน์  กระวาน กานพลู  แฝกหอม  มะตูมอ่อน  ผลผักชี  เปลือกโมกมัน  แก่นสน  ฝางเสน  กระเทียม  ลำพันแดง  พริกไทย  ผิวมะกรูด  เปลือกโลด  ผลมะแว้งทั้งสอง  เบญจกูล สิ่งละ 1 ส่วน  ผลจันทน์เทศ 16 ส่วน
วิธีใช้  บดเป็นผงละเอียด ปั้นแท่งไว้ ละลายน้ำเปลือกขี้อ้ายต้มแทรกพิมเสน รับประทาน
สรรพคุณ  แก้สันนิปาตะอชิน หายแล

ปักวาตะอติสาร ( พิเศษ )
บังเกิดแก่กองคูถเสมหะ กล่าวคือ วาโยพัดกำเริบไม่ให้เสมหะคุมกันเข้าได้ อุจจาระมีสีขาวดุจดังน้ำข้าวเช็ด เหม็นดุจซากศพอันเน่าโทรม ให้ลงไหลไปไม่ได้ว่างเวลา ให้บริโภคอาหารไม่ได้ ให้อาเจียนออกแต่เขฬะเหนียว ให้เนื้อเต้น ให้เกิดสะอึก ลักษณะดังกล่าวมานี้เป็นอสาทิยะอติสารโรค รักษายากนัก