ต้นครอบจักรวาล ตากแห้ง
- 1 กีโล 600 บาท รวมส่ง ครั้งโอนเงินก่อน
- มันแห้งและเบามากครับ
รักษาอาการโรคต่อไปนี้
- เบาหวาน
- สะเก็ดเงิน โรคคัน
- มือเท้าชาและบวม
- แผลเปื่อยเรื้อรัง
- โรคไต มะเร็ง
- กับอีกสารพัดโรค ที่เกี่ยวกับน้ำเหลืองเสีย
- ก่อนตัดแขน ขา อยากให้ลองทานกันดูก่อน หายกันมาเยอะมาก
- นอกจากรักษาโรคเบาหวานแล้ว ยังสามารถนำส่วนต่างๆ มาใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคอื่นได้อีกดังนี้”ต้น” ช่วยบำรุงโลหิต ขับลม ช่วยย่อยและทำให้เจริญอาหาร “ราก” แก้โรคเกี่ยวกับระบบหลอดลม น้ำดี บำรุงธาตุเจริญอาหาร ปัสสาวะขุ่น เสียวมดลูก ตกขาวมีกลิ่นเหม็นคาว แก้ไอ ผอมเหลือง บำรุงกำลัง
- “ใบหรือทั้งต้น” ต้มน้ำดื่มแก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ ล้างแผล ตำรายาพื้นบ้านใช้ใบตำพอกบ่มหนองให้สุกและแตกเร็วขึ้น นอกจากนั้น “ใบ”ยังใช้ขยี้อุดฟัน แก้ปวดฟัน แก้เหงือกอักเสบ “ดอก” ฟอกล้างลำไส้ให้สะอาด
ประมาณ 50 กรัม หรือ ถ้วยแกง หรือ 1 อุ้งมือ(มากน้อยกว่าไม่เป็นไร)
ต้มกับน้ำประมาณ 2 ลิตร ต้มไฟอ่อนๆพอ เดือดสัก5-10 นาที ยกลงได้แล้ว
- กรองเอาน้ำมาดื่ม ครั้งละ ครึ้ง แก้ว-1แก้ว
- หมั่นตรวจวันค่าน้ำตาลในเลือด
- คนที่เอาไปรักษาเรื่องแผลเน่าน้ำเหลือเสีย แรกๆน้ำเหลืองจะออกมามาก อย่าตกใจมันขับออกมา ไม่กี่วันแผลจะค่อยๆแห้ง
- จะปัสวะบ่อย
สรรพคุณของครอบฟันสี
- รากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ราก) ช่วยแก้อาการร่างกายอ่อนแอไม่มีกำลัง ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับขาหมู 2 ขา แล้วผสมกับเหล้าเหลืองประมาณ 60 กรัม ใช้ต้มกับน้ำรับประทาน (รากแห้ง)
- ในอินโดจีนใช้ดอกอ่อนและเมล็ดเป็นยาบำรุง (เมล็ด, ดอกอ่อน
- รากใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก)
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ต้น ราก ทั้งต้น ])
- ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต (ต้น, ทั้งต้น)
- ช่วยฟอกโลหิต (ทั้งต้น, ราก ขับโลหิตเสีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยบำรุงปอด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยแก้โรคประสาท (ทั้งต้น)
- ใบหรือทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือใช้ยอดสดยาว 1 คืบ จำนวน 15 ยอด นำมาต้มกับน้ำ 6 แก้วโอเลี้ยงจนเดือด ใช้ดื่มในขณะยังอุ่นจนหมด ติดต่อกันทุกวันประมาณ 2-3 อาทิตย์ บ้างก็ใช้ผลต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 8-9 ผลต่อน้ำ 2 ลิตร หากน้ำตาลในเลือดลดลงแล้วให้ใช้เพียง 4-5 ผลต่อน้ำ 2 ลิตร ต้มดื่มต่างน้ำ จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ บ้างก็ว่าใช้ทั้ง 5 ส่วนของครอบฟันสีก็ใช้รักษาโรคเบาหวานได้ นอกจากน้ำตาลจะลดแล้วผู้ที่เป็นแผลเปื่อยจากเบาหวานก็หายด้วย (ผล, ใบ, ทั้งต้น)[4],[5],[6],[9] และยังมีการทดลองเพื่อทดสอบฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของสารสกัดจากใบครอบฟันสี ด้วยการป้อนสารสกัดในขนาด 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม พบว่าสารสกัดดังกล่าวจะใช้เวลาดูดซึมประมาณ 2 ชั่วโมง จึงจะออกฤทธิ์[7]
- ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคความดันโลหิต (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้โรคลมบ้าหมูหรือโรคลมชัก ด้วยการใช้ทั้งต้นรวมรากนำมาต้มกับน้ำปริมาณพอสมควรจนเดือด แล้วนำมาดื่มในขณะยังอุ่นทุกวัน วันละ 2-3 ครั้ง ผู้ที่เพิ่งเป็นโรคดังกล่าวจะหายในเวลาไม่นาน แต่ถ้าเป็นนานเกิน 5 ปีแล้ว ต้องต้มดื่มติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 1 ปีจึงจะหาย (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้อาการหูอื้อ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการหูหนวก (ทั้งต้น, ราก)
- ช่วยแก้อาการปวดหู ลมออกหู (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 15-30 กรัม ข้าวเหนียวปริมาณ 1 ถ้วย (หรือจะใช้เนื้อหมูไร้มันหรือเต้าหู้แทนข้าวเหนียวก็ได้) ในปริมาณพอสมควร ใช้ต้มกับน้ำรับประทาน (รากแห้ง)
- ช่วยรักษาคางทูม (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ (ราก)
- ช่วยแก้อาการรากฟันเน่าและเป็นหนอง ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 15 กรัม นำมาผสมกับน้ำตาลแดงพอสมควร ใช้ต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้รากแห้งนำมาแช่กับน้ำส้มสายชูประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเอาผ้าห่อนำมาอมไว้ในปากบ่อย ๆ (รากแห้ง)[1]
- ใบใช้ขยี้นำมาอุดฟัน ช่วยแก้อาการปวดฟัน แก้อาการเหงือกอักเสบ (ใบ)
- ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ อาการไอ และหลอดลมอักเสบ ด้วยการใช้รากนำมาทุบแล้วแช่กับน้ำส้มสายชูประมาณหนึ่งชั่วโมง จากนั้นนำมาอมจะทำให้อาการดีขึ้น ส่วนอีกวิธีแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ให้ใช้ทั้งต้นสด 40-80 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก, ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้คอตีบ ด้วยการใช้รากสดประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรืออาจจะเพิ่มรากว่านหางช้างสด 20 กรัม และรากหญ้าพันงูสด 20 กรัม นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเหล้าขาวรับประทาน (รากสด)
- รากมีรสจืด ชุ่ม และเย็น ส่วนต้นมีรสชุ่มและสุขุม สรรพคุณเป็นยาช่วยแก้อาการร้อน ชื้น (ทั้งต้น, ราก)
- ช่วยแก้เลือดร้อน (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นมีรสหวานเป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ และไต ใช้เป็นยาแก้หวัด ไอแห้ง ไข้ตัวร้อนไม่ยอมลด ช่วยกระจายลมร้อน ขับลมชื้น (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ไข้ ด้วยการใช้ครอบฟันสีทั้ง 5 ส่วนนำมาต้มกินและนำมาใช้อาบ (ทั้งต้น , ราก ช่วยลดไข้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- รากใช้เป็นยารักษาโรคไข้ผอมเหลือง (ราก)
- รากเป็นยาเย็น มีรสหวานจืด ใช้เป็นยารักษาอาการไอ (ราก)
- ช่วยแก้หืด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยขับเสมหะ (เมล็ดแห้ง)
- ช่วยละลายเสมหะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยแก้อาการสะอึก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับหลอดลมและน้ำดี (ราก) แก้โรคลมและดีพิการ (ราก)
- ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยขับลม (ต้น,ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยในการย่อยอาหาร (ต้น, ทั้งต้น)
- เมล็ดแห้งใช้กินประมาณ 3.5-7.5 กรัม ใช้เป็นยาระบายในคนที่เป็นริดสีดวงทวาร (เมล็ดแห้ง)
- ดอกใช้เป็นยาฟอกลำไส้ให้สะอาด (ดอก)
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง แก้บิด (ราก)
- ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ทั้งต้น, ราก)
- ช่วยแก้อาการบิดมูกเลือด บิดมูกขาว ด้วยการใช้เมล็ดนำมาคั่วให้เกรียมแล้วบดให้เป็นผง ใช้ครั้งละ 3-5 กรัม นำมาผสมกับน้ำผึ้งรับประทานก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง (เมล็ด)
- ช่วยขับพยาธิในท้อง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ผงจากเมล็ดใช้ฆ่าพยาธิเส้นด้าย ด้วยการใช้ผงจากเมล็ดนำมาโปรยบนถ่านไฟ เอาควันมารมก้นเด็กที่เป็นพยาธิเส้นด้าย (เมล็ดแห้ง)
- ช่วยขับปัสสาวะ (ราก, ทั้งต้น) ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปวดแสบเวลาขับปัสสาวะ หรือที่เรียกว่าโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยใช้ทั้งต้นสด 40-80 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ทั้งต้น)[1],[8],[9][11] ใบหรือทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ใบ, ทั้งต้น)[4],[5],[6] บ้างก็ว่าเปลือกนั้นมีเมือก ที่นำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้เช่นกัน (เมือกจากเปลือก)[2] ส่วนในอินโดจีนจะใช้ดอกอ่อนและเมล็ดเป็นยาขับปัสสาวะ และหล่อลื่น (เมล็ด, ดอกอ่อน)[2],[11] และในอินเดียจะใช้ยาชงจากรากเป็นยาแก้อาการขัดเบาเป็นเลือด และยังระบุด้วยว่ารากและเปลือกนั้นมีฤทธิ์ขับปัสสาวะได้เป็นอย่างดี (ราก, เปลือก)
- ช่วยแก้อุจจาระกะปริบกะปรอย (เมล็ด, ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้รากประมาณ 100-150 กรัม นำมาต้มเอาน้ำข้น ๆ ดื่มประมาณ 1 ถ้วยชา วันละ 1-3 ครั้ง ส่วนกากเหลือให้นำมาต้มเป็นน้ำยาแล้วอบที่ทวารให้พออุ่น ๆ และพอทนได้ โดยให้อบวันละประมาณ 5-6 ครั้ง และเอาน้ำอุ่น ๆ มาชะล้างแผล (ราก)
- ช่วยขับระดูของสตรี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ใช้เป็นยาแก้มุตกิดสตรี หรืออาการปัสสาวะขุ่น เสียวในมดลูก มีอาการตกขาวและมีกลิ่นเหม็นคาว และมีอาการปวดบริเวณชายกระเบนเหน็บ (ราก)
- ช่วยรักษาโรคต่อมลูกหมากอักเสบ ด้วยการใช้สมุนไพรครอบจักรวาล รางจืด ลูกใต้ใบ อย่างละเท่ากันนำมาต้มกิน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยบำรุงไต รักษาโรคไต (ราก)
- เมล็ดใช้เป็นยาสมานแผล (เมล็ด)
- ช่วยแก้หกล้มแล้วเป็นบาดแผล ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับขาหมู 2 ขา แล้วผสมกับเหล้าเหลืองประมาณ 60 กรัม ใช้ต้มกับน้ำรับประทาน (รากแห้ง)
- ทั้งต้นใช้รักษาแผลบวมเป็นหนอง (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการใช้ครอบฟันสีทั้ง 5 ส่วนนำมาต้มกินและนำมาใช้อาบ หรือนำมาประคบร่วมด้วย (ทั้งต้น)[3] ในอินเดียใช้ดอกและใบ นำมาพอกรักษาฝีและแผลเรื้อรังต่าง ๆ (ดอก, ใบ)[2] ส่วนฟิลิปปินส์ใช้ใบนำมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้างรักษาบาดแผลและแผลเรื้อรังชนิดต่าง ๆ (ใบ)[2] หรือจะใช้ใบผสมน้ำใช้ล้างก็ได้เช่นกัน (ใบ)[5],[6] นอกจากจะช่วยรักษาแผลเรื้อรังแล้ว ยังช่วยรักษาแผลพุพองและแผลเบาหวานได้อีกด้วย โดยจะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น ทำให้คอลลาเจนมาเกาะที่แผลมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการเรียงตัวและการเติบโตที่ดีขึ้น
- ช่วยรักษาโรคเรื้อน (ทั้งต้น )
- ช่วยแก้ฝีฝักบัว ด้วยการใช้เมล็ด 1 ช่อนำมาบดให้เป็นผงแล้วนำมาชงกับน้ำสุกอุ่น ๆ ใช้รับประทาน และให้ใช้ใบสดนำมาตำผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำตาลแดงก็ได้ แล้วนำมาพอกที่แผล (เมล็ด, ใบสด)
- ใบใช้ตำพอกบ่มหนองให้สุกไวและแตกเร็วขึ้น (ใบ)
- ใช้เป็นยาแก้ฝีบวมแดง แก้อีสุกอีใส (เมล็ด, ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้อาการผดผื่นคันเนื่องจากอาการภูมิแพ้ ด้วยการใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 80 กรัม นำมาต้มกับเนื้อสันของหมูประมาณ 200 กรัม โดยต้มเป็นน้ำแกง ใช้รับประทานจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ (ทั้งต้นแห้ง)
- ช่วยแก้อัมพาต แก้ลมเข้าข้อ ต้านเชื้อแบคทีเรีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยแก้อาการข้อมือและข้อเท้าอักเสบ หรือเป็นแผลอักเสบที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาผสมกับน้ำและเหล้าอย่างละเท่ากัน แล้วใช้ตุ๋นรับประทาน (รากแห้ง)
- ใช้เป็นยาแก้ปวดในกระดูก ด้วยการใช้ครอบฟันสีทั้ง 5 ส่วนนำมาต้มกินและนำมาใช้อาบ หรือจะนำมาประคบร่วมด้วยก็ได้ (ทั้งต้น)
- ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ (เมล็ดแห้ง)
- วิธีใช้และขนาดที่ใช้ : การใช้ตาม ทั้งต้นและราก ให้เก็บในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยตัดมาทั้งต้นแล้วล้างให้สะอาด นำมาตากให้แห้งแล้วเก็บไว้ใช้ ถ้าเป็นส่วนของราก ให้ใช้รากแห้งประมาณ 10-15 กรัม หากใช้ภายในให้นำมาต้มกับน้ำดื่ม แต่หากใช้ภายนอกให้นำรากมาตำแล้วพอกหรือต้มกับน้ำใช้ชะล้าง สำหรับในส่วนของทั้งต้น ให้ใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 30-60 กรัม หากใช้ภายในให้นำมาต้มกับน้ำดื่มหรือใช้ตุ๋นกับเนื้อไก่รับประทาน แต่ถ้านำมาใช้ภายนอกก็ให้นำมาตำแล้วพอก ทั้งนี้ก็ให้ดูลักษณะของอาการประกอบไปด้วย
- ส่วนการใช้ตาม ต้นสดและรากให้ใช้ครั้งละ 40-80 กรัม ต้นแห้งใช้ครั้งละ 20-30 กรัม ส่วนการนำมาใช้ภายนอกนิยมใช้ต้นสดนำมาตำพอก ส่วนเมล็ดแห้งนำมาบดให้เป็นผงใช้ครั้งละ 3-5 กรัมรับประทาน