สมุนไพร ข้าวเย็นเหนือ
ราคา 250 บาท ที่ครึ่งกิโล
ราคา 400 บาท ที่ 1 กิโล
ค่าส่ง 100 บาท เคอรี่ โอนเงินก่อน
เก็บปลายทางเพิ่ม 70 บาท
แอดไลน์ 0918712395 โทร 0809898770
เฟส แจ่ม อารมณ์ดี https://www.facebook.com/jam.aromdee
สรรพคุณของข้าวเย็นเหนือ
ราคา 250 บาท ที่ครึ่งกิโล
ราคา 400 บาท ที่ 1 กิโล
ค่าส่ง 100 บาท เคอรี่ โอนเงินก่อน
เก็บปลายทางเพิ่ม 70 บาท
แอดไลน์ 0918712395 โทร 0809898770
เฟส แจ่ม อารมณ์ดี https://www.facebook.com/jam.aromdee
ข้าวเย็นเหนือ
ข้าวเย็นเหนือเป็นสมุนไพรไทยที่พบได้มากตามป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ส่วนใหญ่จะพบสมุนไพรข้าวเย็นเหนือทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้าวเย็นเหนือจัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง โดยจะแตกกิ่งก้านสาขาจากโคนต้น พาดพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยลงตามพื้นดิน ความยาวของเถาอาจยาวได้ถึง 5 เมตร เถามีหนามแหลมที่โคนใบยอดอ่อนโ
ดยมีมือเป็นเส้น 2 เส้นไว้สำหรับยึด
สรรพคุณทางยา
- แก้น้ำเหลืองเสีย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อหนอง แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กามโรค มีสรรพคุณรักษาฝี แผลเน่าเปื่อยพุพอง ช่วยให้ฝีและแผลแห้งเร็วขึ้น นอกจากนี้หัวข้าวเย็นเหนือยังมีสรรพคุณแก้ผดผื่นคัน ดับพิษในกระดูก แก้ปัสสาวะพิการ และแก้อักเสบในร่างกาย
สรรพคุณของข้าวเย็นเหนือข้าวเย็นเหนือจัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง โดยจะแตกกิ่งก้านสาขาจากโคนต้น พาดพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยลงตามพื้นดิน ความยาวของเถาอาจยาวได้ถึง 5 เมตร เถามีหนามแหลมที่โคนใบยอดอ่อนโ
ดยมีมือเป็นเส้น 2 เส้นไว้สำหรับยึด
- ตำรายาพื้นบ้านมุกดาหารและประเทศมาเลเซียจะใช้เหง้าเป็นยาบำรุง (หัว)[3]
- หัวนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงเลือด (หัว)[3]
- หัวตากแห้งนำมาหั่นผสมในตำรับยาบำรุงกำลัง (หัว)[4]
- ใช้หัวในยาตำรับ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้มะเร็ง ด้วยการบดยาหัวให้ละเอียดผสมกับส้มโมง ต้มจนแห้งแล้วผสมกับน้ำผึ้งรับประทานวันละ 1 เม็ด (หัว)[3] หัวข้าวเย็นทั้งสองมีกลไกลการออกฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านม (หัว)[6]
- ตำรับยาแก้เบาหวานให้ใช้หัวข้าวเย็นทั้งสอง ใบโพธิ์ และไม้สัก นำมาต้มในหม้อดินเป็นยาดื่ม ส่วนอีกตำรับยาหนึ่งให้ใช้หัวข้าวเย็นทั้งสองผสมกับต้นลูกใต้ใบ นำมาต้มกับน้ำดื่ม (หัว)[5]
- หัวหรือรากมีรสหวานจืด เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับ กระเพาะ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (หัว)[2]
- ต้นมีรสจืดเย็น เป็นยาแก้ไข้เรื้อรังและแก้ไข้ตัวร้อน (ผล)[1],[3]
- ใบมีรสจืดเย็น เป็นยาแก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต (ใบ)[1],[3]
- ตำรับยาแก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้ โดยมีอยู่ 2 ตำรับ ตำรับยาแรกใช้ยารวม 4 อย่าง ส่วนตำรับที่สองใช้ 6 อย่าง โดยใช้หัวข้าวเย็นทั้งสองผสมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับ นำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม (หัว)[5]
- หัวมีรสมันกร่อน หวานเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ประดง (หัว)[1],[2],[3]
- ตำรับยาแก้ไอ ให้ใช้หัวข้าวเย็นเหนือ 5 บาทและหัวข้าวเย็นใต้ 5 บาท นำมาต้มในหม้อดินและเติมเกลือทะเลเล็กน้อย ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (หัว)[5]
- ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (หัว)[2],[3]
- ช่วยแก้ตาแดง (หัว)[2]
- ช่วยขับลมชื้น ด้วยการใช้ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้อย่างละ 30 กรัม โกฐเขมา, โกฐหัวบัว, เจตมูลเพลิง (ไม่ได้ระบุว่าใช้เจตมูลเพลิงแดงหรือเจตมูลเพลิงขาว), เถาวัลย์เปรียงอย่างละ 20 กรัม นำมาต้มรวมกันใช้เป็นน้ำดื่ม หรือจะนำมาแช่กับเหล้า โดยใส่เหล้าให้ท่วมตัวยา ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วนำมารับประทานก็ได้ (หัว)[2]
- รากใช้เป็นยาแก้พยาธิในท้อง (ราก)[1]
- หัวใช้เป็นยาแก้นิ่ว (หัว)[4]
- หัวและรากใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะพิการ (หัว, ราก)[1],[2],[3]
- ช่วยแก้กามโรค เข้าข้อออกดอก (ระยะของกามโรคที่เกิดมีเม็ดผื่นเป็นดอก ๆ ขึ้นตามตัว) (หัว)[1],[2],[3],[6]
- ใช้เป็นยาแก้โรคหนองในทั้งหญิงและชาย ด้วยการใช้หัวข้าวเย็นทั้งสองร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นอีก รวมทั้งสิ้น 14 อย่าง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคหนองในหรือโรคโกโนเรีย โดยจะหายภายใน 7 วัน (หัว)[5]
- ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (หัว)[4] ตามตำรับยาแก้ริดสีดวงทวารจะใช้ตัวอย่าง 12 อย่าง อันประกอบไปด้วย หัวข้าวเหนือเย็น หัวข้าวเย็นใต้ เหง้าสับปะรด แก่นจำปา เครือส้มกุ้ง จุกกระเทียม จุกหอมแดง จันทน์ขาว จันทน์แดง พริกไทยล่อน รากลำเจียก และสารส้ม นำมาต้มในหม้อดิน ใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น ท่านว่าริดสีดวงทวารจะหายภายใน 7 วัน (หัว)[5]
- ผลมีรสขื่นจัด เป็นยาแก้ลมริดสีดวง (ผล)[1],[3]
- ตำรับยาแก้ระดูขาวของสตรีและโรคบุรุษ ให้ใช้หัวข้าวเย็นเหนือ 1 บาท, หัวข้าวเย็นใต้ 1 บาท, ต้นบานไม่รู้โรยดอกสีขาวทั้งต้นรวมราก 1 ต้น, ต้นตะไคร้ทั้งต้นรวมราก 20 บาท และเกลือทะเล นำมาต้มกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือเพียง 1 ส่วน แล้วนำมาใช้ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยตะไล วันละสองครั้งเช้าและเย็น จะช่วยแก้ระดูขาวและโรคบุรุษได้ผลชะงัดดีนัก (หัว)[5]
- ใช้รักษาโรคเนื้องอกบริเวณปากมดลูก ให้นำข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้อย่างละ 25 กรัม นำมาต้มด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 3 ชั่วโมง หรือต้มให้เหลือน้ำประมาณ 100 ซีซี แล้วใช้แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง ครั้งละ 25 ซีซี (หัว)[2]
- ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย (หัว)[2]
- ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (หัว, ราก)[1],[2],[3],[6]
- ใช้เป็นยาแก้พิษและแก้พิษจากสารปรอท (หัว)[2]
- ดอกใช้เป็นยาแก้พิษงูเห่า (ดอก)[1]
- ช่วยแก้มะเร็งคุดทะราด (หัว)[1],[2],[3]
- ใช้เป็นยาทารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ นำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา แล้วนำมาใช้ทาบริเวณแผล (หัว)[2]
- รากช่วยแก้พุพอง (ราก)[1]
- ช่วยรักษาฝีแผลเน่าเปื่อยพุพอง ทำให้แผลฝียุบแห้ง แก้เม็ดผื่นคัน (หัว)[1],[2],[3]
- ตำรับยาแก้ฝีทุกชนิดระบุให้ใช้หัวข้าวเย็นเหนือ 1 ส่วน, หัวข้าวเย็นใต้ 1 ส่วน, กระดูกควายเผือก 1 ส่วน, กำมะถันเหลือง 1 ส่วน, ขันทองพยาบาท 1 ส่วน และหัวต้นหนอนตายหยาก 1 ส่วน หนักอย่างละ 20 บาท และเหง้าสับปะรด 10 บาท, กระดูกม้า 4 บาท, ต้นพริกขี้หนูรวมราก 1 ต้น, ผิวไม้รวก 3 กำมือ (รวมเป็น 10 อย่าง) นำมาต้มในหม้อดินพอสมควร ใช้ดื่มหลังอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 เวลา ตำรับนี้นอกจากจะช่วยแก้ฝีทุกชนิดแล้ว ยังช่วยแก้โรคแผลกลาย รักษาแผลในหลอดลมและในลำไส้อย่างได้ผลชะงัด (หัว)[5]
- ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน กลากเกลื้อน ผิวหนังอักเสบ น้ำกัดเท้า (หัว)[2] หัวใต้ดินนำมาต้มกับน้ำให้เด็กอาบจะช่วยแก้อาการตุ่มแดง มีผื่นคัน และถ่ายเหลวได้ (หัว)[4]
- หัวช่วยฆ่าเชื้อหนอง (หัว)[7]
- หัวนิยมใช้เป็นยาแก้อักเสบในร่างกาย (หัว)[1],[2],[3]
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการใช้ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้อย่างละ 30 กรัม โกฐเขมา, โกฐหัวบัว, เจตมูลเพลิง, เถาวัลย์เปรียงอย่างละ 20 กรัม นำมาต้มรวมกันใช้เป็นน้ำรับประทาน หรือจะนำมาแช่กับเหล้า โดยใส่เหล้าให้ท่วมตัวยา ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วนำมารับประทานก็ได้ (หัว)[2],[4] แก้อาการปวดหลังปวดเอว ปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ (หัว)[4]
- ช่วยแก้อาการปวดข้ออันเนื่องมาจากลมชื้นหรือฝีหนองทั้งภายนอกและภายใน (หัว)[2]
- หัวมีสรรพคุณแก้เส้นเอ็นพิการ ช่วยดับพิษในกระดูก (หัว)[1],[2],[3]
- หัวนำมาต้มกับน้ำรับประทานเพื่อลดอาการปวดสำหรับหญิงอยู่ไฟหลังการคลอดบุตร (หัว)[3]
- หมายเหตุ : การใช้ตาม [2] ยาแห้ง ให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน[2] และนิยมใช้ข้าวเย็นเหนือร่วมกับข้าวเย็นใต้ โดยจะเรียกว่า “ข้าวเย็นทั้งสอง”
- ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของข้าวเย็นเหนือ
- สารที่พบ ได้แก่ Alkaloid, Amino acid, Diosgennin, Saponin, Saponins, Smilax, Smilacin, Parillin, Tanin, Tigogenin ส่วนในเมล็ดพบน้ำมันหอมระเหย 11.2%[2]
- จากการทดลองกับหนูขาวและกระต่าย ด้วยการนำน้ำยาที่ต้มได้จากข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 4 ให้หนูทดลองกิน พบว่าสามารถช่วยยับยั้งเชื้อรา และเชื้อ Staphylo coccus ได้[2]
- เมื่อนำน้ำยาที่ต้มได้จากข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 มาฉีดเข้าบริเวณช่องท้องของหนูขาวและกระต่ายทดลอง พบว่าสามารถช่วยห้ามเลือดที่ออกในบริเวณช่องท้องได้[2]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น