วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สารสกัดจากชิงเฮา รักษา มาลาเรีย


http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52471

Artemisinin เป็นสารต้านโรคมาลาเรีย สกัดจากต้นชิงเฮา (Artemisia annua L.) ซึ่งสาร นี้มีปริมาณน้อยมากในธรรมชาติ งานวิจัยนี้มีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณ.artemisinin.ในต้นชิงเฮา ให้สูงขึ้นโดยวิธีการฉายรังสีแกมมา…..การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ…และการใช้เทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุล โดยมุ่งเป้าที่เอนไซม์ amorpha-4,11-diene synthase (ADS) ซึ่งเกี่ยวข้องในขั้นตอนแรกของวิถี ชีวสังเคราะห์ของ.artemisinin จากการวัดกิจกรรมของเอนไซม์ดังกล่าวในต้นชิงเฮาที่ได้รับการ ฉายรังสี.พบว่ากิจกรรมของเอนไซม์มีความสัมพันธ์กับปริมาณสาร.artemisinin.ที่พืชสร้างขึ้น ซึ่ง บ่งชี้ว่าการฉายรังสีแกมมามีผลกระทบต่อยีนที่สร้างเอนไซม์.ADSในต้นชิงเฮาที่อยู่รอดจากการฉาย รังสี ทำให้ทั้งเอนไซม์ ADS และ artemisinin มีปริมาณสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ต้นชิงเฮาที่ อยู่รอดจำนวนหนึ่ง..ซึ่งได้รับการปรับสภาวะจากหลอดทดลองไปสู่การปลูกในเรือนกระจก.และใน สภาพธรรมชาติ.มีปริมาณ.artemisinin.ในระดับที่ใกล้เคียงกับปริมาณที่พบในแต่ละต้นที่เพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อเริ่มต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความคงตัวของการสร้างสาร.artemisinin.ในต้นชิงเฮาที่ได้รับ การฉายรังสี นอกเหนือนจากการฉายรังสี งานวิจัยนี้ยังได้พยายามเพิ่มปริมาณ.artemisininโดยการ สร้างพืชดัดแปลงพันธุ์ของต้นชิงเฮาให้มีการสร้างเอนไซม์..ADS..ในระดับที่สูงขึ้น ในส่วนนี้ได้ ดำเนินการโดยการสังเคราะห์ และเพิ่มจำนวนยีน.ADS.ด้วยเทคนิค RT-PCR ตามด้วยการตัดต่อ ยีนให้อยู่ภายใต้.plant.expression.vector .แล้วจึงส่งถ่ายยีนเข้าไปในต้นชิงเฮาด้วยเชื้อ.Agrobacterium tumefaciens จากนั้นทำการเหนี่ยวนำให้เซลล์เพาะเลี้ยงเป็นส่วนยอดโดยใช้ฮอร์โมนพืช ในสัดส่วนจำเพาะ จากต้นชิงเฮาที่ได้รับการถ่ายยีนโดยกระบวนการดังกล่าว เมื่อนำมาตรวจสอบ การเข้าไปและการคงอยู่ของ.ADS..ยีน..ควบคู่กับการทำงานของเอนไซม์.ADS.และปริมาณ.artemisinin ที่ผลิตขึ้นในต้นดัดแปลงพันธุ์ พบว่าสามารถตรวจพบ 35s promoter ซึ่งเป็น promoter ใน plant expression vector ในต้นชิงเฮาที่ได้รับการถ่ายยีน อีกทั้งมีการทำงานของเอนไซม์ ADS ในระดับที่สูงกว่าต้นชิงเฮาที่ไม่ได้รับการถ่ายยีนถึง.2-3.เท่า.. นอกจากนี้..การวิเคราะห์ปริมาณสาร artemisinin ..ยังพบว่าในต้นชิงเฮาที่ได้รับการถ่ายยีนมีปริมาณ artemisinin เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับที่ สูงถึง..0.8.-1.0..% ของน้ำหนักแห้ง..ซึ่งสูงกว่าปริมาณในต้นที่ไม่ได้รับการถ่ายยีนถึง..2-3.เท่าเช่นกัน การศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ทั้งเทคนิคการฉายรังสีแกมมา และการดัดแปลงพันธุ์ต้นชิงเฮามีผลต่อ การแสดงออกของยีน.ADS.ซึ่งทำให้สามารถผลิต.artemisinin.ในระดับสูงขึ้นในต้นชิงเฮาอันจะ เป็นประโยชน์ต่อการใช้เป็นแหล่งของสารต้านมาลาเรียต่อไป