วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ตดหมูตดหมา

ตดหมูตดหมา

ไม้เถาเลื้อยประเภทล้มลุก ลำต้นขนาดเล็ก ลำต้นและใบมียางสีขาว 
 เด็ดขยี้ มีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นตด 
ใบเป็นประเภทใบเดี่ยว รูปเรียวยาว หรือรูปหอก ออกเป็นคู่ตรงข้าม สีเขียว เนื้อใบบาง 
ก้านใบสั้น เส้นใบโค้งจรดกันที่ใกล้ขอบใบ ใบกว้าง 10-25 มิลลิเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร 
ดอกออกเป็นช่อตรงซอกใบหรือโคนก้านใบ 
ช่อละ 2-3 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดเล็ก กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันตรงโคนกลีบ 
ปลายกลีบแยกจากกัน กลีบด้านนอกสีขาว ด้านในสีม่วงแดงหรือสีชมพู ปะด้วยจุดสีม่วงจุดสีน้ำตาล เกสรตัวผู้มี 5 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อันอยู่ตรงกลาง 
ผลเป็นฝักยาวสีเขียว ยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร กว้าง 1-4 เซนติเมตร

ตดหมูตดหมา เป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่เรียกกัน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “กระพังโหม”  เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไป ในป่าธรรมชาติและบริเวณในสวน 

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ 

นิยมปลูกขึ้นเลื้อยตามรั้วบ้าน เพื่อเก็บยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานเป็นผักแกล้มลาบ ยำ พล่า ก้อย หรือน้ำพริก มีบางท้องถิ่นเห็นเก็บมาวางขายตลาดสดกันก็มี

ตดหมูตดหมา หรือกระพังโหม เป็นที่นิยมเมืองเหนือ อีสาน 
ใช้รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบขม ก้อย 
ชาวใต้นิยมนำไปหั่นฝอย ผสมปรุงข้าวยำ 

  • ใบตดหมูตดหมา ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือเรียวยาว โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.1-12 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวถึงเขียวค่อนข้างเข้ม หน้าใบและหลังใบไม่มีขน แต่จะมีขนสั้น ๆ ละเอียดที่มุมเส้นใบตัดกับเส้นกลางใบ เส้นแขนงใบออกตรงข้ามกันและเยื้องกันบ้าง ปลายเส้นวิ่งไปจนเส้นถัดไป ไม่ถึงขอบใบ เส้นแขนงเล็ก ๆ สานกันเป็นร่างแห มีเส้นแขนงใบข้างละ 4-7 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 1.2-2.3 เซนติเมตร[1],[4]

คนโบราณใช้น้ำคั้นจากเถาและใบ ผสมปรุงขนมขี้หนู ทำให้ขนมมีสีเขียว 
ส่วนดอกมีการนำมารับประทานกันเป็นผักสดบ้าง  
ยอดอ่อนและใบมีรสขมมัน กลิ่นเหม็นเขียว  ช่วยระบายความร้อนในร่างกาย 

ประโยชน์ทางยา นับได้ว่าเป็นสมุนไพรตัวหนึ่ง ที่มีสรรพคุณรักษาอาการอักเสบบริเวณคอ ปาก รักษาบาดแผล เป็นยาระบายอ่อนๆ สำหรับเด็ก รากมีสรรพคุณแก้โรคดีซ่าน

สรรพคุณของตดหมูตดหมา

  1. ทั้งต้นมีรสขม สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ (ทั้งต้น)[1]
  2. ใบมีรสขม ใช้ทำเป็นอาหารบำรุงกำลังคนฟื้นไข้หรือคนชราได้ (ใบ)[1]
  3. ใบนำมาตำพอกเวลาปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะจะดีขึ้น (ใบ)[4]
  4. ช่วยแก้ตัวร้อน (ทั้งต้น)[1]
  5. ใช้เป็นยาถอนพิษเหล้า ยาสูบ และพิษจากอาหาร (ทั้งต้น)[1]
  1. รากมีรสขมเย็น ใช้ฝนหยอดตา แก้ตาฟาง ตาแฉะ (ราก)[1] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ตาฟาง ตาแฉะ ตามัว (ราก)[2]
  2. ผลและใบใช้เป็นยาแก้อาการปวดฟัน (ใบ,ผล)[1]
  3. ใช้แก้อาการอักเสบที่คอและปาก (ยอดอ่อน)[2]
  4. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มจะช่วยทำให้อาเจียน (ราก)[1]
  5. ช่วยขับลม (ทั้งต้น)[1] ยอดและเถาใช้ผสมในตำรับยาแก้ท้องอืด ยาขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ แก้เจ็บท้อง จุกเสียด แน่นท้อง แก้นิ่ว (ยอดและเถา)[2]
  6. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ทั้งต้น)[1]
  7. ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ยอดอ่อน)[2]
  8. ช่วยขับพยาธิไส้เดือน (ทั้งต้น)[1]
  9. รากใช้ฝาทาแก้ริดสีดวงทวาร (ราก)[1]
  10. ใบใช้เป็นยาแก้เริม แก้ปวดแสบปวดร้อน (ใบ)[1]
  11. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)[1]
  12. ช่วยแก้พิษงู (ใบ)[1]
  13. ใช้เป็นยาขับน้ำนมของสตรี (ยอดอ่อน)[2]
  14. นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วว่ารากมีสรรพคุณแก้โรคตานขโมย รักษาดีซ่าน แก้ท้องเสีย ลำไส้พิการ แก้อาการจุกเสียด ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (ราก), เถามีสรรพคุณแก้ธาตุพิการ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ซาง ตานขโมย แก้ไข้ ตัวร้อน รักษารำมะนาด ท้องเสีย ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับพยาธิ แก้ดีรั่ว ใช้ทาแผลที่ถูกงูกัด ช่วยถอนพิษงู (เถา), ใบมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ แก้ธาตุพิการ แก้ตานซาง แก้ตัวร้อน ไข้จับสั่น แก้รำมะนาด เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับพยาธิไส้เดือน แก้ดีรั่ว แก้อาการคัน (ใบ), ดอกมีสรรพคุณแก้ไข้จับสั่น ช่วยขับน้ำนม (ดอก), ผลมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้จับสั่น หืดไอ แก้มองคร่อ แก้ท้องมาน แก้ริดสีดวง (ผล), นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้สัมประชวร แก้เสมหะ แก้ฟกบวมในท้อง และช่วยบำรุงธาตุไฟ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) (ข้อมูลจากเว็บไซต์ทองไทยแลนด์)[4]

ประโยชน์ของตดหมูตดหมา

  1. ใช้เป็นพืชอาหารและสมุนไพร โดยใช้ยอดอ่อนและใบอ่อนนำมากินเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก แกล้มกับลาบ และตำมะม่วง หรือนำมาต้มหรือลวกรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก[2],[3]
  2. ใช้เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ เป็นต้น ต้นมีกลิ่นเหม็นเขียวเพราะมีสาร Methyl mercaptan เมื่อนำมาต้มกลิ่นระเหยไป สามารถนำมาทำอาหารได้[1]
  3. ผลใช้ทาฟันทำให้ฟันมีสีดำ[1]
  4. รากนำมาปอกเปลือกแช่น้ำ นำไปตำกับข้าวเหนียวนึ่งเพื่อทำข้าวพอง (ข้าวโป่ง) หรือที่คนภาคกลางเรียกว่า “ข้าวเกรียบว่าว[3]
  5. ใช้ปลูกเป็นไม้ดับ ด้วยการปลูกเป็นค้างให้เลื้อย ดอกมีขนาดเล็กแต่ออกดกมีสีสันสวยงาม[4]



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น