วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยธาตุต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์

  คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยธาตุต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์
ร่างกายของมนุษย์เรานี้ มีธาตุประชุมกันอยู่ ๔ ธาตุ คือ
๑. ธาตุปถวี (ธาตุดิน)
๒. ธาตุอาโป (ธาตุน้ำ)
๓. ธาตุวาโย (ธาตุลม)
๔. ธาตุเตโซ (ธาตุไฟ)

ธาตุปถวี (ธาตุดิน) แยกออกเป็น ๒๐ อย่าง
๑. เกศา ผม เป็นเส้นงอกขึ้นบนศีรษะ
๒. โลมา ขน เป็นเส้นงอกขึ้นทั่วร่างกาย
๓. นขา เล็บ งอกขึ้นที่ปลายนิ้วมือปลายนิ้วเท้า
๔. ทันตา ฟัน กระดูกงอกขึ้นที่เหงือกในปาก
๕. ตโจ หนัง ๆ ที่หุ้มอยู่ทั่วร่างกาย
๖. มังสัง เนื้อ มีอยู่ใต้หนังทั่วร่างกาย
๗. นหารู เส้นเอ็น มีทั่วไปในร่างกาย
๘. อัฐิ กระดูก เป็นแท่งอยู่ในร่างกาย
๙. อัฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก
๑๐. วักกัง ม้าน มีอยู่ในทรวงอก
๑๑. หทยัง หัวใจ เป็นก้อนเนื้ออยู่ภายในทรวงอก
๑๒.ยกนัง ตับ เป็นชิ้นเนื้อละเอียดอยู่ภายในทรวงอก
๑๓. กิโลมกัง พังผืด เป็นเยื่อเหนียวมีอยู่ภายในของร่างกาย
๑๔. ปิหะกัง ไต เป็นชิ้นเนื้อมีอยู่ภายในช่องท้อง
๑๕. ปับผาสัง ปอด เป็นเนื้อชิ้นอ่อนยุ่น มีอยู่ภายในทรวงอก (เป็นถุงสำหรับเก็บลมหายใจ)
๑๖. อันตัง ไส้ใหญ่ มีอยู่ภายในท้อง
๑๗. อันตคุณัง ไส้น้อย หรือสายรัดไส้
๑๘. อุทริยัง อาหารที่กินเข้าไปใหม่
๑๙. กรีสัง อาหารเก่าที่เป็นคูธ
๒๐. มัตถเก มัตถลุงคัง เยื่อในสมองศีรษะ

ธาตุอาโป (ธาตุน้ำ) แยกออกเป็น ๑๒ อย่าง
๑. ปิตตัง น้ำดี น้ำดีมี ๒ อย่าง คือ พัทธปิตตะ น้ำดีในฝัก อพัทธปิตตะ น้ำดีนอกฝัก
๒. เสมหัง เสลด มี ๓ อย่างคือ ศอเสมหะ มีอยู่ที่หลอดคอ อุระเสมหะ มีอยู่ในทรวงอก คูธเสมหะ มีอยู่ที่ช่วงทวารหนัก
๓. บุพโพ น้ำหนอง มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย
๔. โลหิตัง น้ำเลือด มีอยู่ทั่วร่างกาย
๕. เสโท น้ำเหงื่อ
๖. เมโท น้ำมันข้น มีอยู่ในร่างกาย
๗. อัสสุ น้ำตา
๘. วสา น้ำมันเหลว มีอยู่ในร่างกาย
๙. เขโฬ น้ำลาย เป็นน้ำออกมาทางใต้ลิ้น
๑๐. สิงฆานิกา น้ำมูก เป็นน้ำข้น ๆ ออกทางจมูก
๑๑. ลสิการ( ลสิกา ) น้ำมันไขข้อ
๑๒. มุตตัง น้ำมูตร (น้ำปัสสาวะ)

ธาตุวาโย (ธาตุลม) แยกออกเป็น ๖ อย่าง
๑. อุทธังคมาวาตา ลมพันขึ้นเบื้องบน (ทำให้ผายลมได้)
๒. อัทโธคมาวาตา ลมพักลงบื้องต่ำ (ทำให้เรอได้)
๓. กุจฉิสยาวาตา ลมพัดอยู่ในท้องนอกลำไส้
๔. โกฎฐาสยาวาตา ลมพัดในลำไส้แลในกระเพาะ
๕. อังคมังคานุสารีวาตา ลมพัดไปทั่วร่างกาย
๖. อัสสาสะปัสสาสะวาตา ลมหายใจเข้าออก

เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) แยกออกเป็น ๔ อย่าง
๑. สันตัปปัคคี ไฟทำให้ร่างกายอบอุ่น
๒. ปริทัยหัคคี ไฟทำให้ร้อนระส่ำระสาย ซึ่งต้ออาบน้ำแลพัดวี
๓. ชีรณัคคี ไฟเผาให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรมแก่คร่ำคร่า
๔. ปรินามัคคี ๆ ย่อยอาหารที่เรารับประทานเข้าไปให้แหลก

ธาตุทั้ง ๔๒ ประการนี้ ที่มีวิการบ่อย ๆ นั้นมี ๓ กอง คือ
ปิตตะสมุฏฐาน ๆ อาพาธด้วยดี เสมหะสมุฏฐานๆ อาพาธม้วยเสลด วาตะสมุฏฐานๆ อาพาธด้วยลม สันนิปาติกา อาพาธด้วยโทษประชุมกันทั้ง ๓ ประการ ชื่อว่าสันนิบาต
ธาตุทั้ง ๓ กองนี้ มักจะวิการเสมอ ถ้าฤดูวิปริตไปเมื่อใด ธาตุ ๓ กองนี้ก็วิการไปเมื่อนั้น
ปิตตะสมุฏฐานนั้น จัดไว้เป็น ๒ คือ พัทธปิตตะ และอพัทธปิตตะ พัทธปิตตะน้ำดีที่อยู่ในฝัก ถ้าวิการเมื่อใดย่อมทำให้ใจขุ่นมัว คลั่งเพ้อวิกลจริตไป อพัทธปิตตะ น้ำดีที่ซาบซ่านอยู่ทั่วร่างกายนั้น ถ้าวิการขึ้นเมื่อใดย่อมทำให้ปวดศีรษะแลตัวร้อน สะท้านร้อนสะท้านหนาว จับไข้ ดังนี้เป็นต้น
เสมหะสมุฏฐาน ท่านจัดไว้เป็น ๓ คือ สอเสมหะ อุระเสมหะ คูธเสมหะ
สอเสมหะ เสลดในลำคอ ถ้าวิการเมื่อใดย่อมทำให้เป็นหืดเป็นไอ เจ็บคอ ๆ แห้งเป็นต้น
อุระเสมหะ เสลดในทรวงอก ถ้าวิการเมื่อใดย่อมทำให้ผอมเหลือง เป็นดาน เป็นเถา มีการแสบในอก เป็นต้น
คูธเสมหะ เสลดในลำไส้ตอนช่วงทวารหนัก ถ้าวิการเมื่อใดย่อมทำให้ตกอุจจาระเป็นเสมหะเป็นโลหิต สามัญชนสมมุติว่าเป็นมูกเลือด เป็นบิด หรือเป็นริดสีดวง เป็นต้น
วาตะสมุฏฐาน ท่านจัดไว้เป็น ๒ คือ สุขุมวาตะ โอฬาริกะวาตะ
สุขุมวาตะ เป็นลมกองละเอียด เมื่อวิการย่อมทำให้ลมจับดวงใจ มีอาการอ่อนเพลียสวิงสวายเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นต้น
โอฬาริกะวาตะ เป็นลมกองหยาบ ถ้าวิการย่อมทำให้จุกเสียด ให้แน่นเฟ้อ ให้ปวดท้องเป็นต้น
                          คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยอาการเจ็บป่วยของร่างกายและยาแก้ ๑
๏ หนึ่งเล่าจะกล่าวสาร โรคนิทานเป็นเค้ามูลสาธกเพื่อเกื้อกูล ในเรื่องธาตุดินต่อไป นิทานโกมารภัจเรียบเรียงจัดตกแต่งไว้ หวังสืบอนาคตไกล กุลบุตรได้เรียนวิชา
จะให้รู้ซึ่งหมู่โรค แห่งฝูงโลกเกิดศิลาน์ กลัวจะน้อยร่อยวิทยา ด้วยพฤฒาผู้เฒ่าตาย
จะไต่ถามซึ่งกาละเม็ด ไม่สิ้นเสร็จโรคทั้งหลาย วิทยาก็เสื่อมคลาย เพราะเหตุนี้จึงกล่าวไว้
วายชนเราทั้งผอง จัดเป็นกองสี่วิสัย มหาภูตะรูปใน พระวิภังค์ชื่อปะระมัถ
ยกออกบอกสำแดง ให้เห็นแจ้งกระจ่างชัด ตามคัมภีร์พระจัด ว่าธาตุดินยี่สิบกอง
เกศาโลมาขน ตลอดจนมัทถลุงสมอง ผู้เรียนให้ตรึกตรอง ดังตำหรับบังคับมา
อาโปสิบสองนั้น ตั้ง ปิตตังเป็นปะถะมา ตราบเท่าจนอะวะสา ถึงมูตรดังเป็นอวสาน ธาตุน้ำสิบสองสิ่ง แห่งชาติหญิงทั่วจักรวาล เตโซคือไฟกาล มีสี่กองในกายเรา
มีนามตามบัญญัติ ในปะระมัถพึงจำเอา สันตัปปัคคีเล่า คือไฟธาตุอุ่นกายคน
ปรินามัคคีซ่าน รสอาหารไปทั่วตน ปริทัยหัคคีลน สกนธ์กายให้คลายชื่น
อัญชะระนัคคีโสด มักทำโทษให้โหดหืน ทำลายให้คลายคืน คือคร่ำคร่าชะราแก่
เป็นกองไฟธาตุสี่ ตามบาลีฉะนี้แท้ ลมหกหากให้แปร โรควิบัติต่าง ๆ เป็น
ลมหนึ่งชื่ออังคะ พัดแต่เท้ายะเยือกเย็น ตลอดเศียรบ่ว่างเว้น เป็นนิรันดร์อยู่อัตรา
ลมหนึ่งชื่ออะโท แต่ศิโรพัดลงมา ตราบเท้าปลายบาทา เป็นที่สุดวิถีลม
หนึ่งลมชื่อโกฎฐา ในครรภาพัดนิยม กุจฉิยาพัดระงม นอกไส้นั้นอยู่เป็นนิจ
คืออังคะมังคา ทั่วกายาเที่ยวสถิตย์ อัสสาสะไม่เพี้ยนผิด คือหายใจเข้าออกเรา
สิ้นลมหกดังวิถาน จงชำนาญอย่าดูเบา เป็นแพทย์อย่าโฉดเขลา หมั่นตรึกตรองในตำรา
อันธาตุทั้งสี่นี้ เลี้ยงอินทรีย์ทุกชะนา หนุ่มแก่ไม่เว้นหนา ธาตุทั้งสี่มีเหมือนกัน
เมื่อธาตุดีไม่วิบัติ สาระพัดชื่นชุ่มมัน ผุดผ่องทั้งสีสัน ทั้งกำลังว่องไวดี
เมื่อวิบัติทนเทวศ ดูทุเรศซบเศร้าศรี เกิดโรคเข้ายายี ในอาการสามสิบสอง
ธาตุสี่เกิดวิบัติ ตัดอินทรีย์ทำลายกอง แต่สิ่งหนึ่งหม่นหมอง พอเยียวยามิเป็นไร
ถ้าห้าถึงหกแล้ว ดุจแก้วเกิดฟองไฝ จะเยียวยาย่อมยากใจ ถึงแม้นคลายไม่เหมือนเก่า
ชนม์เข้าถึงเก้าสิบ ถึงยาทิพย์กินเสียเปล่า คงจะตายแต่บันเทา โทษเสียดแทงเพราะคุณยา ฯ
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยไข้ตักกะศิลา
๏ ข้าไหว้พระพุทธ พระธรรมบริสุทธิ์ พระสงฆ์บริพาร บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ขอแต่งนิทาน เมืองตักกะศิลา ขอให้มีไชย ชะนะแก่ภัย โรคะโรคา กล่าวกลอนสอนไว้ ตามในตำรา เมืองตักกะศิลา ครั้งห่าลงเมือง พระฤาษีเมตตา เห็นเวทนา ฝูงคนตายเปลือง จึงไว้ตำรา มีมาตามเรื่อง เป็นบุญไปเบื้อง หน้าชั่วกัลปา ถ้าแรกล้มไข้ ท่านมากล่าวไว้ ให้พิจารณา ภายนอกภายในให้ร้อนหนักหนา เมื่อยขบกายา ตาแดงเป็นสาย บ้างเย็นบ้างร้อน เป็นบั้นเป็นท่อน ไปทั่วทั้งกายขึ้นมาให้เห็น เป็นวงเป็นลาย บางคาบเป็นสาย เป็นริ้วยาวรี ลางบางไม่ขึ้น เป็นวงฟกลื่นกายหมดดิบดี หมอมักว่าเป็น สันนิบาตก็มี ให้ยาผิดที แก้กันไม่ทัน อย่าเพิ่งกินยา ร้อนแรงแข็งกล้าส้มเหล้าน้ำมัน เอาโลหิตออก กอกเลือดนวดพัน ปล่อยปลิงมิทัน แก้กันเลยนา ถ้ายังไม่รู้ ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เย็นเป็นอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาด จืดพืชยา ตามอาจารย์สอน ถ้าจะใคร่รู้ เอาเทียนส่องดู ให้รู้แน่นอน ถ้ายังมิขึ้น เร่งกินยาถอน กระทุ้งขึ้นก่อน อาบพ่นจนเห็น ถ้าทำสิ้นจบ มิขึ้นตระหลบ กินตับซ่อนเร้น ต่อเมื่อมรณา ขึ้นมาให้เห็น ดังก้านเผือกเป็น เขียวขาวแดงมี ลางบางเล่าไซร้ ไม่เจ็บไม่ไข้ อยู่อยู่ดีดี ขึ้นมาให้เห็น สองสามราตรี จึงไข้ก็มี อย่าให้รักษา ถ้าว่าล้มไข้ ลงก่อนเล่าไซร้ สองสามวันมา ผุดขึ้นให้เห็น ดำเขียวขึ้นมา ท่านให้รักษา แต่งยาติดตามถ้าว่าออกดำ ขึ้นเขียวช้ำช้ำ ดุจดังสีคราม รายทั่วกายา ดังสีหว้าห่าม ลางคาบขึ้นคล้าม สีอย่างจิงจำ เติบเท่านิ้วชี้ สองนิ้วก็มี เรียกว่าออกดำ พิเคราะห์ให้แท้ แน่แล้วจึงทำ ยาแก้ออกดำ ทำตามตำรา ฯ
๏ ๑. ถ้าว่าออกแดง สีนั้นเป็นแสง ดุจชาดหยอดทา ผุดขึ้นมาเล่า เม็ดเท่าถั่วงา สองนิ้วหัตถานิ้วหนึ่งก็มี ถ้าใช้สะท้าน ร้อนหนาวครั่นคร้าน มิได้ยื่นที่ ถ้าผุดขึ้นมา เท่าสะบ้าก็มี ลักษณะดังนี้เรียกว่าปานดำแดง เป็นวงกลมอยู่ บอกไว้ให้รู้ ปานดำพิษแรง ขึ้นแต่ครึ่งขา ว่าไว้ให้แจ้งเป็นตายคลางแคลง แบ่งเท่ากันมา ถ้าตลอดถึงเท้า เป็นกรรมของเขา แล้วอย่าสงกา ร้อยหนึ่งรอดคน เป็นพ้นปัญญา ปานแดงท่านว่า ลักษณะเหมือนกัน ขึ้นซ้ายชายหย่อน พิษมันนั้นอ่อน กว่าปานดำนั้น ให้เร่งรักษาหาแพทย์ขยัน เร่งเยียวยากัน อย่าได้ไว้ใจ ฯ
๏ ๒. ถ้าไข้ครั่นตัว แลให้ปวดหัว อย่าได้สงสัย ว่าดาวเรืองนั้น ยังดั้นอยู่ใน เหมือนโคมตามไว้ ให้พิจารณา เห็นดังหยอดชาด พร้อย ๆ ประหลาด ไปทั่วกายา พิเคราะห์เห็นแน่ แท้แล้วจึงยา ตามในตำรา ท่านมากล่าวไว้ ฯ
๏ ๓. ถ้าไข้สะท้าน ร้อนหนาวครั่นคร้าน เสียวซ่านทั่วไป ละเมอเพ้อพำ ร่ำรีร่ำไร ดุจดังผีไพร ถูกต้องแลนา ตัวตี( ตีน )เย็นซ้ำ มือกำตีนกำ บิดเบือนกายา เป็นสายโลหิต ติดในลูกตา ให้ร้อนนักหนา ดุจเปลวไฟลน ว่าไข้รากสาด ผุดขึ้นประหลาด ดำแดงขาวปน ดุจดังก้านเผือก กลิ้งเกลือกสับสน ยากินยาพ่น แก้ให้ถูกที่ ถ้าเห็นปรากฏ ดังก้านเผือกสด ดำแดงขาวมี ถ้าดำพิษแรง กว่าแดงขาวสี พิเคราะห์ให้ดี แต่งยาตามทาง ฯ
๏ ๔. ยอดดำเชิงขาว อาจารย์ท่านกล่าว ไว้เหล่าหลายอย่าง ชื่อว่าตะมอย พิษค่อยเบาบาง ฯ
๏ ๕. ถ้าฟกบวมบ้าง ชื่อมะเร็งทูมนา ฯ
๏ ๖. ถ้าเห็นเป็นแถว รีรีเป็นแนว เกี่ยวก่ายไปมา ชื่อสังวาลย์พระอินทร์ หญิงซ้ายชายขวาขึ้นต้องตำรา ตายอย่าสงสัย ชายซ้ายหญิงขวา อาจารย์ท่านว่า มิพอเป็นไร พอเยียวยาคลาย ค่อยหายค่อยไป หยูกยาเตรียมไว้ ให้ถูกทำนอง ฯ
๏ ๗. ใช้หนึ่งเล่านา ขึ้นสองต้นขา เขียวขึ้นเป็นหนอง ลางบางอย่างสี ลูกหว้างอมงอม พิษนั้นพานถ่อม ชื่อกระดาน( กระดานหิน )ยังไม่ปอกก่อน แก้ได้โดยถวิล ถ้าลอกปอกแหล่ ตายแท้อย่าหมิ่นบอกไว้ให้สิ้น อย่าได้ฉงน ฯ
๏ ๘. ถ้าดูเห็นคล้ำ อย่างลูกจิงจำ เป็นเงาในตน ชื่อมหาเมฆแล เร่งแก้ขวายขวน เห็นจะอับจน ตามแต่บุญนา ฯ
๏ ๙. อาจารย์กำหนด ชื่อหงษ์รันทด มันผุดขึ้นมา ดังไข่ปลากราย รายทั่วกายา ลิ้นกระด้าง ปากอ้า คางแข็งสลบไป ถ้ายังอ่อนอยู่ หาท่านผู้รู้ ช่วยแปรแก้ไข ถลอกปอกหมู สุดรู้จนใจ เกรียมดังไฟไหม้ ประกายคาดเหมือนกัน ฯ
๏ ๑๐. จันทรสูตรกำหนด ผุดขึ้นดังผด แขนทั้งสองนั้น ท่านให้เร่งแก้ ยาแปรจงพลัน ถ้ารู้เท่ามัน มิพอเป็นไร ฯ
๏ ๑๑. ถ้าขึ้นยอดแหลม เล็กเล็กขึ้นแซม เป็นเหล่าๆ ไป นิ้วหนึ่งสองนิ้ว อย่าได้สงสัย จะบอกชื่อไว้ ระบุชาดแลนา ฯ
๏ ๑๒. ถ้าเห็นเป็นแถว รีรีเป็นแนว ดำแดงลงมา ชื่อสายฟ้าฟาด ร้ายกาจนักหนา เร่งรัดหยูกยา ตามบุญตามกรรม ฯ
๏ ๑๓. ชื่อไฟเดือนห้า พิษแรงแข็งกล้า แดงแล้วกลับดำ ชื่อนั้นแปรไป ไฟฟ้าจงจำแก้สีที่ดำแดงได้ไม่ตาย ให้เป็นต่าง ๆ ชักปากเบี้ยวบ้าง ให้คางคลาดคลาย ชักตาแหกเหิน ให้เร่งขวนขวายแปรยาให้ผาย เห็นไม่มรณา ฯ
๏ ๑๔. ถ้าเป็นแผ่นไป หัวเล็กเล็กไซร้ เป็นเหล่าขึ้นมา มักเมื่อยกระดูก ทุกทั่วกายา บิดกายซ้ายขวา เขฬาเหนียวให้ ชื่อข้าวไหม้น้อย พิษพานจะถอย พอเยียวยาคลาย ฯ
๏ ๑๕. ถ้าเห็นสีเหลือง มือเท้าขวาซ้าย หน้านั้นเหลืองคล้าย เหมือนดอกบัวขม มักให้เป็นบิดปวดเป็นโลหิต เน่าให้สะสม จำจะบรรลัย เพราะกาฬมูตรจม กินตับทับถม มิรู้ว่าเป็นบิดนา ฯ
๏ ๑๖. ลางไข้วิปริต ตกเป็นโลหิต ทั้งเก้าทวาร มิได้เจ็บไข้ ตกเลือดออกมา จงเร่งรักษาอย่าได้ไว้ใจ
๏ ๑๗. ลางบางเป็นขด ให้เห็นปรากฏชักกลมเข้าไป แล้วชักหงายแหงน หลังแอ่นขึ้นให้ล้มลงทันใจ เพศไข้นานา ฯ
๏ ๑๘. ไข้สี่ประการ โดยดังอาจารย์ ท่านไว้ตำรา มันย่อมแกมไข้ ผุดผื่นขึ้นมา กระโดงศิลา กระโดงจ้ำ กระโดงไฟ กระโดงแกลบครบสี่ จะบอกตามที่ ยังมิเข้าใจ กระโดงหินให้เชื่อม นอนนิ่งแน่ไป มิลุกขึ้นได้ ทั้งคืนทั้งวัน กระโดงไฟร้อนพ้น ดังเอาไฟลน ร้อนมิเท่ากัน กระโดงแกลบนั้น คันพ้นอภิปราย เหลืออดเหลือกลั้น เกาจนเลือดนั้น ติดเล็บบ่หาย กระโดงน้ำนั้น กลางคืนกลางวัน มิรู้สึกกายอายุวันหนึ่ง จะถึงความตาย ให้แพทย์ทั้งหลาย พึ่งรู้เล่ห์กล ชื่อฟองสมุทรา ถ้าผุดขึ้นมา สีเขียวมัวมน ถ้าขึ้นจากอก ตกที่อับจน ชายขวาหญิงซ้าย เร่งให้ขวายขวน เห็นจะอับจน อย่าได้ไว้ใจชายซ้ายหญิงขวา อาจารย์ท่านว่า ไม่พอเป็นไร ถ้าเห็นดำดำ ดุจดังถ่านไฟ เทียมเนื้อไรไร เติบเท่าเมล็ดงา ชื่อมหานิล อย่าได้ดูหมิ่น เร่งแปรหยูกยา แต่บรรดาไข้ ในตักกะศิลา ให้พิจารณาขึ้นร้ายขึ้นดี ขึ้นอกขึ้นหน้า ตาที่(ตกที่)ร้ายหนา แปรยาจงดี แก้ตามทำนอง ให้ต้องคัมภีร์ แปรร้ายเป็นดี ก่อนอย่านอนใจ อาจารย์กำหนด ให้แต่งโอสถ กระทุ้งภายใน แล้วพ่นยานอก ให้ออกจนได้ ปรากฏแล้วไซร้ พิษจึงระเหย จึงไม่กินไส้ กินตับปอดได้ ท้องไม่ร่วงเลย ประทับสำคัญ ก่อนนั้นอย่าเฉย กินยาตามเคย แปรร้ายเป็นดี พิเคราะห์ตามไข้หนักเบาอย่างไร อย่าให้เสียที ทำตามทำนอง ให้ต้องพิธี พิเคราะห์ให้ดี จึงมีเดชา รากเท้ายายม่อม มะเดื่อทุมพร อีกรากคนทา ชิงชี่น้ำนอง ให้ต้องตำรา ปู่เจ้าเขาเขียว หญ้านางแลนา ยาศิริสรรพยาให้เอาเสมอกัน ต้มให้กินก่อน ตกถึงอุทร ออกสิ้นทุกพรรณ ท่านตีค่าถึง ตำลึงทองนั้น ทำเถิดขยัน กลั่นแกล้งกล่าวมา ยาพ่นภายนอก กระทุ้งให้ออก มานอกกายา หญ้านางใบมะขาม วัลย์เปรียงเอามา ดินประสิวแทรกยา พ่นผุดทันใจ เห็นแท้แล้วเล่า เอารากปักเข้า ขี้กาแดงใส่ แทรกดินประสิว พ่นผิวลงไป กินยาภายในเสียก่อนแลนา เอาใบมะผู้ มะเมียทั้งคู่ มะยมให้หา มะเฟืองมะกรูด มะนาวแลนา คนที่สอมา หญ้าแพรกปากควาย มะตูมเอาใบ ขมิ้นอ้อยไซร้ ศิริยาทั้งหลาย เสมอภาคหมด บดปั้นละลาย น้ำซาวข้าวกินหาย แปรร้ายเป็นดี พ่นแปรนอกนา เองรังหมาร่า ที่ร้างแรมปี หญ้าแพรกปากควาย ใบมะเฟืองมีสี ศิริยาทั้งนี้ เท่ากันบรรจง บดปั้นแท่งละลาย ซาวข้าวเป็นกระสาย ขวนขวายใส่ลงพ่นแปรแก้ย้าย หายดังจำนงค์ เป็นดีโดยจง ให้พ่อนสามครา แต่งยาครอบไข้ สาระพัดแก้ได้ ไข้ตักกะศิลา จันทน์แดงจันทน์ขาว ใบสวาดหัวคล้า ง้วนหมูคงคา สะแกจิงจำ ฟักเข้าเข้าไหม้ ฟักหวาน(ผักหวาน)บ้านไซร้ พิมเสนแทรกนำ หญ้านางมะนาว สูเจ้าจงจำ เสมอภาคเอาน้ำ ซาวข้าวละลาย เป็นยาภายใน กินประจำข้า(ประจำไข้) กว่าจะถอยคลาย ระวังแต่กาฬ จะเกิดมากมาย ทั้งหญิงทั้งชาย อย่าได้ไว้ใจ ฯ
๏ หมอเอ๋ยจงฟังสาร บุราณท่านได้กล่าวมา เป็นแพทย์ไม่ศึกษา ฉันทศาสตร์ให้เรือง รมย์ไม่รู้กำเนิดไข้ แต่ยาได้ก็ชื่นชม รักษาด้วยอารมณ์ ประโยชน์ลาภอันพึงใจ หมอนั้นท่าน เปรียบปานดังตาบอดกำเนิดใน ดันถือทิฏฐิใจ ไม่เห็นโทษในกองกรรม วางยาแต่คราวเดียว ไม่ต้องโรคยับระยำ ดังโตมราตำ ตลอดยอดอุระใน ยาผิดเป็นสองครั้ง ดังยกทุ่มเข้ากองไฟ ถ้าวางยานั้นผิดไปคำรบถ้วนเป็นสามครา ดังต้องอสุนิสาย มาฟาดกายให้มรณา กายยับด้วยพิษยา กำเริบโรคทวีไป หมอนั้นครั้นสิ้นชนม์ จะไปทนกำเนิดใน นรกอันยิ่งไฟ ทั้งไหม้น้ำทองแดงมี หมู่นายนิรยบาลประชุมเชิญด้วยยินดี เครื่องโทษบรรดามี จะยกให้เป็นรางวัล เป็นแพทย์จงเพียรเรียน ให้รอบรู้จงครบครันที่อยู่ฤดูวัน อายุปันแลเวลา สำแลงแลสงไข้ โรคอันใดจะเป็นมา รู้ใช้ให้รู้ยา รักษาตามกำเนิดใน กาดำประจำโรค โรคดังกาอันตาไว เงือดเงื้อธนูไป ก็หลีกหลบด้วยเร็วพลัน ยายิ่งธนูปาน สิงหราชก็เพียงกัน โรคดังมฤควัญญ์ จะลี้ลับหลบไปเอง โรคมีตามพงษา เป็นเวลาบุราณเพรง โทษกำหนดเกรง จะยายากด้วยแรงกรรม แพทย์ใดชำนาญรู้ กำเนิดโรคแลยายำ ยาไข้ด้วยใจธรรม เที่ยงแน่แท้ในทางบุญ ทั้งลาภก็ยิ่งลาภ แลทั้งคุณก็ยิ่งคุณ ทำบุญก็ได้บุญ ประเสริฐเลิศวิชาชาญ จักเป็นที่เสน่หา ถ้วนทุกหน้าย่อมกราบกราน ไกลใกล้ก็ไม่นาน จะไปสู่ไปง้องอน เป็นที่จะสรรเสริญ เจริญใจทั้งให้พร ครั้นถึงซึ่งม้วยมรณ์ จะได้ไปในเมืองสวรรค์ เสวยทิพย์สิ่งสุข แสนสนุกทุกวี่วัน คัมภีร์ท่านรำพรรณ ประกาศไว้แต่หลังมา ฯ
๏ เสร็จสิ้นข้าขอพร ทุกไทยเทพย์เทวา สุรารักษ์อันรักษา สถิตทั่วทุกขอบขัณฑ์ สาครสิงขร ชาติเครือลดาวัลย์ภูมิพื้นพนาสัณฑ์ ทุกถิ่นถ้ำลำเนาธาร เชิญช่วยข้าดับเข็ญ ให้เย็นสุขเกษมสาร ศัตรูที่ภัยพาล ให้เสื่อมสูญครรไลยไกล ใครเห็นให้จงพิศ สวาทชิดภิรมย์ใจ รักยิ่งเสมือนสนิทเนื้อแลพงษ์พันธุ์ ผลข้าได้แต่งไว้ ไปภายหน้าข้าขอทัน องค์พระเมตไตรยอัน ได้โปรดข้าในควร ข้ามฝั่งยังห้องแก้ว พระนิพพานอย่าแปรปรวน เมื่อยังจะเที่ยวทวน อยู่ในชาติกันดาร ขอบิดามารดร ยิ่งด้วยศฤงคาร เมียมิตรแลบุตรหลาน ให้รักร่วมหฤทัยกัน ขอข้าอย่ามีโรค หนวกบอดพิการอัน บ้าใบ้ทุกสิ่งสรรพ์ กระเทยง่อยแลสตรี เป็นชายให้เรืองรู้ รสธรรมพระคัมภีร์พุทธฉันทศาสตร์ศรี ให้เจนจบชำนาญใจ ขอข้ากำลังยิ่ง อายุยืนปัญญาไว ให้มีเมตตาไป แก่ทั่วทุกสรรพพรรค์ เกิดไหนให้เป็นแพทย์ อย่ารู้มีผู้เทียมทัน โรคสิ้นทุกสิ่งสรรพ์ ให้รอบรู้กำเนิดสรรพคุณทั้งพื้นภพ ทุกสิ่งจบบรรดายา ให้บอกด้วยภาษา จะแก้ตีอันใด ๆ จิตรเจตนาใน ให้สำเร็จทุกครั้งครา อนึ่งคนพยศถ่อย หฤทัยโทษอันพาลา ให้พ้นในพงษา ญาติมิตรสนิทเรียง เกิดไหนให้ไกลห่าง ประเทศต่างภาษาเสียง รูปรอยแลนามเรียง อย่าได้ยลได้มิตรยินมา อนึ่งข้าขอมีแลศรัทธาทุกเพลา ขอเกิดในศาสนา ตราบเท่าพระนิพพานเอย ฯ
                                                         คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ๑
๏ ข้าขอประนมหัตถ์ พระไตรรัตนนาถา ตรีโลกอมรมา อภิวาทนาการ อนึ่งข้าอัญชลีพระฤาษีผู้ทรงญาณ แปดองค์ผู้มีฌาน โดยรอบรู้ในโรคา ไหว้คุณอิศวเรศ ทั้งพรหมเมศทุกชั้นฟ้าสาปสรรค์ซึ่งหว่านยา ประทานทั่วโลกธาตรี ไหว้ครูกุมารภัจ ผู้เจนจัดในคัมภีร์ เวชศาสตร์บรรดามีให้ทานทั่วแก่นรชน ไหว้ครูผู้สั่งสอน แต่ปางก่อนเจริญผล ล่วงลุนิพพานดล สำเร็จกิจประสิทธิพรฯ
๏ จะกล่าวคัมภีร์ฉัน ทศาสตร์บรรพ์ที่ครูสอน เสมอดวงทินกร แลดวงจันทร์กระจ่างตา ส่องสัตว์ให้สว่าง กระจ่างแจ้งในมรรคา หมอนวดแลหมอยา ผู้เรียนรู้คัมภีร์ไสย เรียนรู้ให้ครบหมดจนจบบทคัมภีร์ใน ฉันทศาสตร์ท่านกล่าวไข สิบสี่ข้อคงควรจำ เป็นแพทย์นี้ยากนัก จะรู้จักซึ่งกองกรรม ตัดเสียซึ่งบาปกรรม สิบสี่ตัวจึงเที่ยงตรง เป็นแพทย์ไม่รู้ใน คัมภีร์ไสยท่านบรรจง รู้แต่ยามาอ่าองค์ รักษาไข้ไม่เข็ดขาม บางหมอก็กล่าวคำ มุสาซ้ำกระหน่ำความ ยกตนว่าตนงาม ประเสริฐยิ่งในการยา บางหมอก็เกียจกัน ที่พวกอันแพทย์รักษา บางกล่าวเป็นมารยา เขาเจ็บน้อยว่ามากครัน บางกล่าวอุบายให้ แก่คนไข้นั้นหลายพรรณ์ หวังลาภจะเกิดพลัน ด้วยเชื่อถ้อยอาตมา บางทีไปเยือนไข้ บ่มีใครจะเชิญหา กล่าวยกถึงคุณยา อันตนรู้ให้เชื่อฟัง บางแพทย์ก็หลงเล่ห์ด้วยกาเมเข้าปิดบัง รักษาโรคด้วยกำลัง กิเลศโลภะเจตนา บางพวกก็ถือตน ว่าใช้คนอนาถา ให้ยาจะเสียยา บ่ห่อนลาภจะพึ่งมี บางถือว่าคนเฒ่า เป็นหมอเก่าชำนาญดี รู้ยาไม่รู้ที รักษาได้ก็ชื่อบาน กายไม่แก่รู้ ประมาทผู้อุดมญาณ แม้เด็กเป็นเด็กชาญ ไม่ควรหมิ่นประมาทใจ เรียนรู้ให้เจนจัดจบจังหวัดคัมภีร์ไสย ตั้งต้นปฐมใน ฉันทศาสตร์ดังพรรณา ปฐมจินดาร์โชตรัต ครรภรักษา อไภยสันตา สิทธิสารนนทปักษี อติสารอวสาน มรณะญาณตามคัมภีร์ สรรพคุณรสอันมี ธาตุบรรจบโรคนิทาน ฤดูแลเดือนวัน ยังนอกนั้นหลายสถาน ลักษณะธาตุพิการ เกิดกำเริบแลหย่อนไป ทั้งนี้เป็นต้นแรก ยกยักแยกขยายไข กล่าวย่อแต่ชื่อไว้ ให้พึ่งเรียนตำหรับจำ ไม่รู้คัมภีร์เวช ห่อนเห็นเหตุซึ่งโรคทำ แพทย์เอ่ยอย่างมคลำ จักขุมืดบ่เห็นหน แพทย์ใดจะหนีทุกข์ ไปสู่สุขนิพพานดล พิริยสติตน ประพฤติได้จึงเป็นการ ศีลแปดแลศีลห้า เร่งรักษาสมาทาน ทรงไว้เป็นนิจกาล ทั้งไตรรัตน์สรณา เห็นลาภอย่างโลภนัก อย่างหาญหักด้วยมารยา ใช้น้อยว่าไข้หนา อุบายกล่าวให้พึงกลัว โทโสจงอดใจ สุขุมไว้อยู่ในตัว คนไข้ยิ่งคร้ามกลัว มิควรขู่ให้อดใจ โมโหอย่าหลงเล่ห์ ด้วยกาเมมิจฉาใน พยาบาทแก่คนไข้ ทั้งผู้อื่นอันกล่าวกล วิจิกิจฉาเล่า จงถือเอาซึ่งครูตน อย่าเคลือบแคลงอาการกล เห็นแม่นแล้วเร่งวางยา อุทธัจจังอย่าอุทธัจ เห็นถนัดในโรคา ให้ตั้งตนดังพระยา ไกรสรราชเข้าราวี อนึ่งโสดอย่างซบเซา อย่าง่วงเหงานั้นมิดี เห็นโรคนั้นถอยหนี กระหน่ำยาอย่าละเมิน ทิฎฐิมาโนเล่า อย่าถือเอาซึ่งโรคเกิน รู้น้อยอย่างด่วนเดิน ทางใครอย่าครรไล อย่าถือว่าตนดี ยังจะมียิ่งขึ้นไป อย่าถือว่าตนใหญ่ กว่าเด็กน้อยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ใดรู้ในทางธรรม ให้ควรยำอย่าโวหาร เรียนเอาเป็นนิจกาล เร่งนบนอบให้ชอบที ครูพักแลครูเรียน อักษรเขียนไว้ตามมี จงถือว่าครูดีเพราะได้เรียนจึงรู้มา วิตักโกนั้นบทหนึ่ง ให้ตัดซึ่งวิตักกา พยาบาทวิหิงษากาม ราคในสันดาน วิจาโรให้พินิจ จะทำผิดหรือชอบกาล ดูโรคกับยาญาณ ให้ต้องกันจะพลันหาย หิริกังละอายบาป อันยุ่งหยาบสิ่งทั้งหลาย ประหารให้เสื่อมคลาย คือตัดเสียซึ่งกองกรรม อโนตัปปังบทบังคับ บาปที่ลับอย่าพึงทำ กลัวบาปแล้วจงจำ ทั้งที่แจ้งจงเว้นวาง อย่าเกียจแก่คนไข้ คนเข็ญใจขาดในทาง ลาภผลอันเบาบาง อย่าเกียจคนพยาบาล ท่านกล่าวไว้ใน ฉันทศาสตร์เป็นประธาน กลอนกล่าวให้วิถาน ใครรู้แท้นับว่าชาย ฯ
                                                                   คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ๒
๏ อนึ่งจะกล่าวสอน กายนครมีมากหลาย ประเทียบเปรียบในกาย ทุกหญิงชายในโลกา ดวงจิตรคือกษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร์ ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา เปรียบแพทย์คือทหาร อันชำนาญรู้ลำเนา ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมทุกทิศา ให้ดำรงกษัตริย์ไว้ คือดวงใจให้เร่งยา อนึ่งห้ามอย่าโกรธา ข้าศึกมาจะอันตราย ปิตตัง คือวังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย อาหารอยู่ในกาย คือสะเบียงเลี้ยงโยธา หนทางทั้งสามแห่ง เร่งจัดแจงอยู่รักษา ห้ามอย่าให้ข้าศึกมา ปิดทางได้จะเสียที อนึ่งเล่ามีคำโจทย์ กล่าวยกโทษแพทย์อันมี ปรีชารู้คัมภีร์ เหตุฉันใดแก้มิฟัง คำเฉลยแก้ปุจฉา รู้รักษาก็จริงจัง ด้วยโรคเหลือกำลัง จึงมิฟังในการยา เมื่ออ่อนรักษาได้ แล้วไซร้ยากนักหนา ไข้นั้นอุปมา เหมือนเพลิงป่าไหม้ลุกลาม เป็นแพทย์พึ่งสำคัญ โอกาสนั้นมีอยู่สาม เคราะห์ร้ายขัดโชคนาม บางทีรู้เกินรู้ไป บางทีรู้มิทัน ด้วยโรคนั้นใช่วิสัย คนบ่รู้ทิฎฐิใจ ถือว่ารู้ขืนกระทำ จบเรื่องที่ตนรู้ โรคนั้นสู้ว่าแรงกรรม ไม่สิ้นสงสัยทำ สุดมือม้วยน่าเสียดาย บางทีก็มีชัย แต่ยาให้โรคนั้นหาย ท่านกล่าวอภิปราย ว่าชอบโรคนั้นเป็นดี เห็นโรคชัดอย่าสงสัย เร่งยากระหน่ำไป อย่าถือใจว่าลองยา จะหนี ๆ แต่ไกล ต่อจวนใกล้จะมรณา จึงหนีแพทย์นั้นหนา ว่ามิรู้ในท่าทาง อำไว้จนแก่กล้า แพทย์อื่นมาก็ขัดขวาง ต่อโรคเข้าระวาง ตรีโทษแล้วจึงออกตัว หินชาติแพทย์เหล่านี้ เวรามีมิได้กลัว ทำกรรมนำใส่ตัว จะตกไปในอบาย เรียนรู้คัมภีร์ไสย สุขุมไว้อย่าแพร่งพราย ควรกล่าวจึงขยาย อย่ายื่นแก้วแก่วานร ไม่รักจะทำยับ พาตำหรับเที่ยวขจร เสียแรงเป็นครูสอน ทั้งบุญคุณก็เสื่อมสูญ รู้แล้วเที่ยวโจทย์ทาย แกล้งอภิปรายถามเค้ามูล ความรู้นั้นจะสูญ เพราะสามหาวเป็นใจพาล ผู้ใดจะเรียนรู้ พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์ เที่ยงว่าพิศดาร ทั้งพุทธไสยจึงควรเรียน แต่สักเป็นแพทย์ได้ คัมภีร์ไสยไม่จำเนียร ครูนั้นไม่ควรเรียน จะนำตนให้หลงทางเราแจ้งคัมภีร์ฉัน ทศาสตร์อันบุราณปาง ก่อนกล่าวไว้เป็นทาง นิพพานสุสิวาลัย อย่าหมิ่นว่ารู้ง่ายตำหรับรายอยู่ถมไป รีบด่วนประมาทใจ ดังนั้นแท้มิเป็นการ ลอกได้แต่ตำรา เที่ยวรักษาโดยโวหาร อวดรู้ว่าชำนาญ จะแก้ไขให้พลันหาย โรคคือครุกรรม บรรจบจำอย่างพึงทาย กล่าวเล่ห์อุบายหมาย ด้วยโลภหลงในลาภา บ้างจำแต่เพศไข้ สิ่งเดียวได้สังเกตมา กองเลือดว่าเสมหา กองวาตาว่ากำเดา คัมภีร์กล่าวไว้หมด ใยมิจดมิจำเอา ทายโรคแต่โดยเดา ให้เชื่อถือในอาตมา รู้น้อยอย่าบังอาจ หมิ่นประมาทในโรคา แรงโรคว่าแรงยา มิควรถือคือแรงกรรม อนึ่งท่านได้กล่าวถาม อย่ากล่าวความบังอาจอำ เภอใจว่าตนจำ เพศไข้นี้อันเคยยา ใช่โรคสิ่งเดียวดาย จะพลันหายในโรคา ต่างเนื้อก็ต่างยา จะชอบโรคอันแปรปรวน บางทีก็ยาชอบ แต่เคราะห์ครอบจึงหันหวน หายคลายแล้วทบทวน จะโทษยาก็ผิดที อวดยาครั้นให้ยา เห็นโรคาไม่ถอยหนี กลับกล่าวว่าแรงผี ที่แท้ทำไม่รู้ทำเห็นลาภจะใคร่ได้ นิยมใจไม่เกรงกรรม รู้น้อยบังอาจทำ โรคระยำเพราะแรงยา โรคนั้นคือโทโส จะภิญโญเร่งวัฒนา แพทย์เร่งกระหน่ำยา ก็ยิ่งยับระยำเยิน รู้แล้วอย่าอวดรู้ พินิจดูอย่าหมิ่นเมิน ควรยาหรือยาเกิน กว่าโรคนั้นจึงกลับกลาย ถนอมทำแต่พอควร อย่าโดยด่วนเอาพลันหาย ผิโรคนั้นกลับกลาย จะเสียท่าด้วยผิดที่ (ที ) บ้างได้แต่ยาผาย บรรจุถ่ายจงถึงดี เห็นโทษเข้าเป็นตรี จึงออกตัวด้วยตกใจ บ้างรู้แต่ยากวาด เที่ยวอวดอาจไม่เกรงภัย โรคน้อยให้หนักไป ดังก่อกรรมให้ติดกายฯ
๏ จะกล่าวกำเนิด ทั้งที่เกิดที่อยู่ ทั้งฤดูเดือนวัน อายุปันเวลา อาหารฝ่าสำแลง โรคร้ายแรงต่าง ๆ ยาหลายอย่างหลายพรรณ สิ้นด้วยกันเก้ารส จงกำหนดอย่าคลาศ ยารสฝาดชอบสมาน รสยาหวานซาบเนื้อ รสเมาเบื่อแก้พิษ ดีโลหิตชอบชม เผ็ดร้อนลมถอยถด เอ็นชอบรสมันมัน หอมเย็นนั้นชื่นใจ เจ็บ( เค็ม )ซาบในผิวหนัง เสมหะยังชอบส้ม กำเริมลมที่อยู่เปือก ตอมฟูเยือกเย็น เนื้อหนังเอ็นปูปลา ย่อมภักษาครามครัน เสมหะนั้นโทษให้ ที่อยู่ในชลธาร มันเสพหว่านเนื่องนิจ ดีโลหิตจำเริญ ที่อยู่เถินเนินผา อาหารฝ่าเผ็ดร้อน อนึ่งสัญจรนอนป่า เพื่อภักษางูเห่า กำเริมเร้าร้อนรุม สันนิบาตกุมตรีโทษ นัยหนึ่งโสดกล่าวมา ฤดูว่าเป็นหก ท่านแยกยกกล่าวไว้ เดือนหกในคิมหันต์ ควรเร่งปันเอากิ่ง แรมค่ำหนึ่งถึงเพ็ญ เดือนสิบเป็นคิมหันต์ กับวสันต์ฤดู เป็นสองอยู่ด้วยกัน อย่าหมายมั่นว่าฝน บังบดบนยิ่งร้อน พระทินกร เสด็จใกล้ มาตรแม้นไข้สำคัญ เลือดดีนั้นเป็นต้น แรมลงพ้นล่วงไป ถึงเพ็ญในเดือนยี่อาทิตย์ลีลาศห่าง ฤดูกลางเหมันต์ กับวสันต์เป็นสอง น้ำค้างต้องเยือกเย็น เสมหะเป็นต้นไข้ แรมลงไปเพียงกิ่ง เดือนหกถึงเพ็ญนั้น เข้าคิมหันต์ระคน เหมันต์ปนสีปักษ์ ลมพัดหนักแม้ไข้ กำเริมในวาตา ซึ่งกล่าวมาทั้งนี้ ต้นปลายปีบรรจบ ฤดูครบเป็นหก สี่เดือนยก ควบไว้ ฤดูใดไข้เกิด เอากำเนิดวันนั้น เป็นสำคัญเจ้าเรือน กำเริบเดือนนั้นว่า ในเดือนห้า เดือนเก้า เดือนอ้ายเข้าเป็นสาม เดือนนี้นามปถวี เดือนหกมีกำหนด เดือนสิบหมดเดือนยี่ สามเดือนนี้ธาตุไฟ อนึ่งนั้นในเดือนเจ็ด เดือนสิบเอ็ดเดือนสาม สามเดือนนามธาตุลม เดือนแปดสมเคราะห์เดือนสิบสองเลื่อนเดือนสี่ สามเดือนนี้อาโปกำเริบโรคามี เหตุทั้งสี่กล่าวมา รายเดือนว่าเหมือนกัน อนึ่งสำคัญลมดี กำลังมีไฟ ธาตุภายในแรงยิ่ง อาโปสิ่งทั้งหลาย กำเริบร้ายด้วยเพศ เสมหะเหตุเป็นตน สันนิบาตท้นแรงไข้ กำเนิดในปถวี กำเริบมีกำลัง กำเริบมีกำลัง หนึ่งเด็กยังไม่รุ่น ยามเช้าครุ่นครางไข้ ปฐมวัยพาละ โทษเสมหะพัวพัน หนุ่มสาวนั้นเป็นไป กำลังในโลหิต ไข้แรงพิษเมื่อเที่ยง คนแก่ เพียงพินาศ ไข้บ่ายชาติวาตา ไข้เวลากลางคืน เสมหะฟื้นลมอัคคี สันนิบาตตรีโทษา หนึ่งคลอดมาจากครรภ์ ระวีวันเสารี เตโชมีเป็นอาทิ ศะศิครูปถวี อังคารมีวาโย พุธอาโปศุกร์ด้วย ธาตุนี้ม้วยกับตน โรคระคนทั่วไป ปรึกษาไข้จงมั่น ฤดูนั้นเข้าจับ อายุกับเพลา เดือนวันมาประมวณคงใคร่ครวญด้วยโทษ นัยหนึ่งโสดไข้นั้น แทรกซ้ำกันบางที วาโยดีเจือกัน เสมหะนั้นกับดี เสมหะมีกับลม ใคร่ให้สมอย่าเบา อย่าฟังเขาผู้อื่น คัมภีร์ยื่นเป็นแน่ กำหนดแก้เจ้าเรือน อายุเดือนวันเพลา กำเริบมาเป็นแทรก ไข้มาแซกอย่ากลัว ถึงมุ่นมัวซบเซา ถ้าไข้เจ้าเรือนไป ไข้แขกไม่อาจอยู่ อนึ่งเล็งดูในไข้ พอยาได้จึงยา ไม่รู้อย่าควรทำ จะเกิดกรรมเกิดโทษ ฯ
๏ จะกล่าวเพศชีพจรจำ เดือนขึ้นค่ำฝ่าบาทา เร่งรีบให้กินยา ตามตำราสะดวกดี สองค่ำอยู่หลังบาท อาจสามารถแก้โรคี กินยาสะดวกดี ตามคัมภีร์ที่มีมา สามค่ำอยู่ศีรษะ ชัยชนะแก่โรคา เร่งถ่ายเร่งผายยา ดีนักหนาอย่างสงสัย สี่ค่ำประจำแขน ตามแบบแผนอันพึ่งใจ ผายยามิเป็นไร โรคใดๆ อันตรธาน ห้าค่ำประจำลิ้น ยาที่กินแล่นเฉียวฉาน วาโยย่อมกล้าหาญ ขึ้นตามตนราก อาเจียน หาค่ำย่อมเรียงราย ทั่วทั้งกายให้คลื่นเหียน ป่วนปั่นให้วิงเวียน ย่อมติเตียนตำรายา เจ็ดค่ำประจำแข้ง ตามตำแหน่งให้ผายยา ระงับดับวาตา ในอุราไม่แดกดัน แปดค่ำอยู่ท้องน้อย ระยำย่อยห้ามกวดขัน กำเริบทุกข์สาระพัน ตำรานั้นว่ามิติ( ดี ) เก้าค่ำประจำมื้อ เร่งนับถือเป็นศุขี ระงับดับโรคี จำเริญศรีอายุนา สิบค่ำประจำก้น ดีล้นพ้นต้องตำรา ชะนะแก่โรคา ดับวาตาถอยลงไป สิบเอ็ดค่ำประจำฟัน ซึ่งห้ามนั้นอย่าสงสัย มักรากลำบากใจ โรคภายในกำเริบมา สิบสองค่ำประจำคาง อย่างละวางในตำรา กำเริบร้ายโรคา อย่าวางยาจะถอยแรง สิบสามค่ำอยู่ขาดี อันโรคีไม่ระแวง ทั้งโรคร้ายก็หน่ายแหนง อย่าควรแคลงเร่งวางยา สิบสี่ค่ำประจำหลัง อย่าพลาดพลั้งเร่งศึกษา ห้ามไว้ในตำรา ทุเลายาลำบากกาย สิห้าค่ำประจำใจ ท่านกล่าวไว้สำหรับชาย อย่าประจุยารุถ่าย อย่ามักง่ายว่าตามมี แรมค่ำหนึ่งจำใจใส่ ประจำใต้ฝ่าตนดี สองค่ำประจำที่ หลังตื่นมีอายุนา สามค่ำอยู่สะดือ อย่านับถือมักรากรา สี่ค่ำอยู่ทันตา จะมรณาม้วยบรรลัย ห้าค่ำประจำสิ้น ห้ามอย่ากินรากพ้นไป หกค่ำอยู่เศียรไซร้ ดับโรคภัยสิ้นทั้งปวง เจ็ดค่ำประจำตัว ย่อมเกรงกลังปะทะทรวง แปดค่ำว่าหนักหน่วง อยู่ในทรวงย่อมจะตาย เก้าค่ำประจำคางเป็นปานกลางคลื่นลงสาย สิบค่ำแขนสบาย ลงง่ายดายเร็วหนักหนา สิบเอ็ดค่ำประจำมือ เร่งนับถือตามตำรา สิบสองค่ำอยู่นาสา หายโรคาอย่าสงสัย สิงสามค่ำอยู่กรรณ์ พยาธินั้นสิ้นสูญไป สิบสี่ค่ำอยู่ปากไซร้ ห้ามมากไว้สิ้นชีวี สิบห้าค่ำอยู่คอ จงรั้งรอตามวิธี กินยาว่ามิดี ห้ามทั้งนี้ตามตำรา ชีพจรนี้สำคัญข้างขึ้นนั้นแลแรมหนา เหมือนกันดังกล่าวมา จะผายยาดูให้ดี บุราณท่านตั้งไว้ คัมภีร์ไซร้สำหรับมี ดับพยาธิโรคี อายุยืนเจริญเอย ฯ
๏ บัดนี้จะกล่าวแถลง ให้รู้แจ้งแห่งธาตุหนอ สังเขปไว้แต่ย่อๆ พอเป็นอย่างทางเล่าเรียนผู้ใดได้พบเห็น อย่าล้อเล่นแล ติเตียน ด้วยข้าอุตส่าห์เพียร จึงได้เขียนเป็นตำรา จักกล่าวตามลักษณะชื่อรัตนะธาตุทั้งห้า อาจารท่านพรรณา คัดออกมาจากโรคนิทาน ลักษณะนั้นมีห้า เป็นธรรมดาแต่โบราณ คือธาตุนั้นพิการ กำเริบแลหย่อนไป อนึ่งเล่าคือธาตุแตก เป็นแผนกนับออกไว้ ธาตุออกจากกายไซร้ สังเขปได้ห้าประการ ฯ
๏ จะกล่าวธาตุปถวี โทษนั้นสี่สิบสองสถาน อาพาธนั้นบันดาล ให้เจ็บปากแลเจ็บฟัน ผมร่วงเจ็บในสมอง หนังหัวพองขนลุกชัน เจ็บในก้อนเนื้อนั้น เจ็บแถวเอ็นแลดวงใจ ผิวหนังแตกระแหง เจ็บทุกแห่งกระดูกใน นาภีนั้นปวดเจ็บไป ปถวีไซร้หย่อนแลนา อนึ่งเล่ากองปถวี กำเริบมีกำลังมา สิบสามตามสังขยา คือนิทราไม่หลับใหล ให้คลั่งให้เจ็บอก น้ำลายตกกระหายไป ให้เศียรร้าวณะภายใน มักโกรธใจให้เจ็บหลัง ขัดหนักและขัดเบา ท้องนั้นเล่าลั่นเสียงดัง ต่าง ๆ ให้พึ่งฟัง เจ็บกระทั่งถึงทวารเบา ข้อมือและข้อแขน ตลอดแล่นเมื่อยขบเอา โทษนี้ปถวีเล่า อย่าดูเบาสุขุมา นัยหนึ่งเมื่อพิการ ให้เจ็บซ่านทั้งกายา ท้องนั้นเจ็บหนักหนา ให้วาตาตีขึ้นไป ท้องลั่นเสียงต่าง ๆ เสียดแทงข้างขบตอดใน โทษนี้ปถวีให้ พิการไซร้จึงวิกล นัยหนึ่งปถวีธาตุ เมื่อนิราศออกจากตน เจ็บท้องเป็นสลวน ท้องขึ้นท้นผอมเหลืองไป สมมุติว่าริดสีดวง เพศนี้ล่วงจักแหน(แปร)ไป เป็นองคสูตไซร้ น้ำมูตรในเป็นเลือดหนอง ให้เสียดสันหลังไป อาหารไซร้มิอยู่ท้อง ปถวีนี้คะนอง ให้เร่งยาในห้าวัน ฯ
๏ นัยหนึ่งปถวีแตก ท่านยกแยกไว้สำคัญ คือโสตทั้งสองนั้น ห่อนได้ยินเสียงเจรจา จักษุทั้งสองไซร้ รูปสิ่งใดห่อนเห็นหนา ผิวเนื้อนั้นหยาบช้า ซีดสากซาเป็นอนิจจัง มีโทษทั้งสามนี้ บังเกิดมีเร่งระวัง ห้าวันจะมรณัง ผู้เป็นแพทย์อย่านอนใจ ฯ
๏ จักแจ้งอาโปธาตุ เป็นประหลาดเมื่อหย่อนไป อาการสิบเอ็ดให้ ดีพลุ่งไซร้แลเสมหา บุพโพก็ลามไหล โลหิตไซร้บังเกิดมา ขนชันทั่วกายา เกิดน้ำตาให้ลามไหล เสโทแลน้ำเบา เขฬะเล่าเกิดมากไป กำเดามักตกไหล มักเป็นไข้เกิดพิการ ฯ
๏ อนึ่งเล่าอาโป ไซร้กำเริบให้โทษสิบเอ็ดสถาน ให้เบื่อรสอาหาร น้ำตาตกปวดศิรา ข้อมือแลข้อเท้า ให้เมื่อยเล่ามักนิทรา ระหายน้ำเป็นมหา วิงเวียนหน้าตัวสั่นไป ให้สะอึกนอนไม่สนิท หวาดหวั่นจิตรสะดุ้งไหว คำนึงถึงดอกไม้ รำพึงไปถึงกิเลศกาม เท่านี้เป็นสิบเอ็ด กล่าวสำเร็จแต่ใจความ เรียนรู้เร่งไต่ถาม จึงควรนับว่าแพทย์ดี หนึ่งเล่าเมื่อพิการ สามสถานให้เกิดมี ขัดเบาแลนาภีขึ้นพองแลน้ำพิการ อาโปเมื่ออันตราย ออกจากกายแปรสถาน ให้จุกแน่นเป็นดานส่วนที่ลงก็ลงไป ขัดหนักแลขัดเบา เจ็บหัวเหน่าให้หลงไหล ตกเลือดตกหนองใน ปวดมวนไปเป็นนานา บางคาบท้องนั้นผูก กลิ้งเป็นแดกขึ้นมา ให้เสียดสองซ้ายขวา ยากที่ยาจะแก้ไข โรคนี้บุราณกรรม เพศนั้นทำจักแปรไป จัดขัดหัวเข่าให้ เจ็บท่องคู้ทั้งสองเป็น อนึ่งธาตุอาโปแตก ท่านยกแยกไว้ให้เห็น อาการเฉพาะเป็น เกิดวิบัติให้ขัดเบา ลิ้นแข็งลิ้นแห้งไป ตัวเย็นไซร้พร้อมกันเข้า ทั้งสี่ประการเล่ายังห้าวันจะมรณา ฯ
๏ จักกล่าววาโยไซร้ เมื่อหย่อนไปให้โทษมา สิบสามตามสังขยา คือวาตาวิบัติไป มักถอนใจใหญ่นัก หาวเรอมักผายลมใน เป็นลมท้นท้องให้ กระบัดไปร้อนหนาวนา ให้ร้อนในทรวงอก กายสั่นงกเท้าหัตถา ลมแล่นทั่วกายา เท้าหัตถานั้นตายไป ลมพัดต้องดวงจิตร ลมทำพิษให้คลั่งไคล้สิบสามโทษนี้ให้ วาโยไซร้ผ่อนหย่อนลงวาโยกำเริบคะนอง โทษสิบสองอาการตรง ลิ้นแข็งคอแห้งผลกระหายน้ำเขม่นตา ขนพองสยองเกล้า ฟันคลอนเล่าขัดนาสา อาหารไม่นำพาเท้าหัตถานั้นเย็นไปฟันแห้งปากแห้งเล่า จักนับเข้าสิบสองไซร้ วาโยกำเริบให้ เร่งแก้ไขกำเริบมา วาโยพิการเล่า เมื่อท้องเปล่าอาเจียนหนา บางคาบอิ่มข้าวปลา จึงอาเจียนคลื่นเหียนไป ห้องนั้นคลอนลมอยู่ พิเคราะห์ดูโทษนี้ไซร้ วาโยพิการให้ ท่านกล่าวไว้เป็นสำคัญ วาโยออกจากตน เกิดวิกลสองหูนั้น ให้หนักแลติงครัน หิงห้อยนั้นออกจาตา ให้เมื่อยสองหัวเข่า จะเป็นเล่าตะครัวหนา จับโปงโป่งขึ้นมา เจ็บขัดทรวงเสียวปวดไป มักแปรเป็นฝีเอ็น ร้อนแลเย็นกระบัดให้ สันหลังเมื่อยขบไป วาโยไซร้ออกจากกาย วาโยเมื่อแตกเล่า หายใจเข้าน้อยไปหาย ใจออกมากระบาย ห่อนรู้จักสมปฤดี กลางคืนแลกลางวัน จักษุนั้นมืดมึนสี โทษสองประการนี้ ยังสองวันจะมรณา ฯ
๏ พรรณาเตโชไซร้ เมื่อหย่อนไปให้โทษมา ให้ขัดในอุรา ให้แสบไส้ให้ตัวเย็น จะนอนไม่สบาย พลิกขวาซ้ายวิบัติเห็น ต่างๆ เพื่อให้เป็น มิใคร่หลับสนิทนาน ครั้นหลับสะดุ้งไหว กายนั้นให้มักรำคาญ มักอยากกินอาหารของสดคาวเป็นนานา อาหารกินน้อย ๆ หิวบ่อย ๆ หลายเพลา อาการสิบนี้นา เร่งรู้ไว้ให้ชัดเจน ในเมื่อเตโชธาตุ วิปลาศกำเริบเป็น โทษสิบประการเห็น ให้ฟันแห้งปากแห้งไป ไม่นึกอยากอาหาร นอนแล้วคร้านลุกขึ้นให้ เจ็บสูงมืดมัวไป น้ำตาไหลไอแห้งเปล่า พอใจอยู่ที่เปลี่ยว อยู่ผู้เดียวอย่ารุมเร้า เจรจาแล้วลืมเล่า ให้เจ็บเร้าระบมกาย เตโชเมื่อพิการท้องขึ้นพล่านไม่สบาย ท้นท้องมิรู้หาย เป็นมงคร่อแลหืดไอ ขัดอกบวมมือเท้า โทษนี้เล่าเหตุเพราะไฟ พิการเร่งแก้ไข ตามท่านไว้สรรพยา เตโชออกจากกาย ให้ร้อนปลายเท้าหัตถา เจ็บปวดเป็นพิษมาดังเขี้ยวงาขบตอดตน แปรไปให้บวมเล่า หลังมือเท้าปวดสุดทน แปรไปผุดทั้งตน เป็นเม็ดแดงแลดำมีแล้วจมลงทำท้อง ตกเลือดหนองแก้จงดี มือเท้าทั้งสองนี้ ให้เป็นเหน็บชาตายไป โรคนี้ให้เร่งแก้ดูให้แน่อย่านอนใจ จะเสียมากกว่าได้ เร่งแก้ไขแต่อ่อนมา อนึ่งเล่าเตโชแตก ท่านยกแยกโทษไว้ห้า ปากแห้งแข็งชิวหา เลือดตกหน้าตาแห้งไป ห่อนรู้จักหน้ากัน หายใจสั่นสะท้อนใน ผิวโทษโทษเช่นนี้ไซร้ ยังสามวันจะมรณา ฯ
๏ อากาศธาตุแตกนั้น ให้หูลั่นกรอกกลอกตา แลดูนิ้วแลหัตถา ห่อนปรากฏจักษุตน โทษสองประการนั้น ยังสองวันชีวาตน จักดับถึงอับจน กล่าวไว้แท้แน่ตำรา ฯ
๏ กลหนึ่งลักษณะธาตุ เมื่อนิราศจากอาตมา เตโชเจ็ดวารา เร่งวางยาแก้ไขกัน ปถวีเมื่อออกจาก แก้ไขยากแต่ห้าวัน มิฟังพ้นกว่านั้น โรคแปรผันเข้าอวสาน วาโยออกเล่าไซร้ เร่งแก้ไขแต่เจ็ดวาร มิทุเลาเบาอาการ เข้าอวสานท่านกล่าวไว้ อาโปเมื่อออกซ่าน สิบเอ็ดวันเร่งแก้ไขโดยที่คัมภีร์ใน ท่านกล่าวไว้ให้แจ้งใจ อากาศเมื่อออกนั้น แก้แต่วันเดียวนั้นไซร้ ยามหนึ่งพึงจำไว้เป็นฉบับโบราณมา จะกล่าวลักษณะธาตุ ท่านกล่าวขาดถึงอวสาน ล้มใช้ได้ตรีวาร ให้เชื่อมมึนไม่สมประดี อาหารกินมิได้ ปิดหนักไว้ถ่ายหลายที ไม่ลงสะดวกดี กลับคลื่นเหียนไม่ฟังยา ลักษณะโทษทั้งนี้ ธาตุปถวีเป็นมหา อาการสิบวารา สิบเอ็ดวันเข้าอวสาน ฯ
๏ ล้มไข้ได้สามวัน แลสี่วันมีอาการ หาวเรอรากอาหาร นอนสะดุ้งไม่สมประดี ให้เพ้อละเมอคว้า มักเจรจาพูดด้วยผี เท้าเย็นมือเย็นมี โทษทั้งนี้เพราะวาตา จะเสียส่วนหนึ่งๆ หนึ่งได้แก้เย็นไซร้มีร้อนมา อาการสิบวารา เก้าวันถึงอวสาน ฯ
๏ ล้มข้าได้สามวัน แลสี่วันทิ้งอาหาร ให้ลงมากเหลือการ อยู่ดีๆ ฉูดลงไป ลางทีตกเสมหัง โลหิตังตา( ตก )ลามไหล ทั้งสองทวารใน แล้วให้รากโลหิตา ลักษณะอาโปธาตุ ย่อมร้ายกาจไม่ฟังยา เจ็ดวันอย่าฉันทา อยากการคาดถึงอวสาน ฯ
๏ ล้มข้าได้สามวัน แลสี่วันมีอาการ ให้ร้อนสองสถาน ร้อยภายนอกแลภายใน พรมน้ำอยู่บ่วาย ให้ระหายน้ำเหลือใจ คอแห้งถึงทรวงใน ให้คลั่งไคล้ไม่สมประดี ให้เมื่อยทั่วทั้งตน ดุจคนมารยามี กิริยาเหมือนหนึ่งผี ภูตแลพรายประจำใจ ให้อยากของแสลง ผิดสำแลงแล้วหนักไป ห้าวันอย่าอาลัย โทษนี้ไซร้ไม่ฟังยา เข้าอวสานเร่งพินิจ แพทย์พึ่งพิจารณา ตักเสียอย่ารักษา เตโซธาตุสำแดงการ อนึ่งอากาศธาตุนั้น ในสองวันเป็นประมาณ มิฟังเข้าอวสาน แพทย์พิจารณ์ชำนาญเอย ฯ
๏ จะกล่าวธาตุทั้งสี่ ในคัมภีร์ย่อมมีมา กุลบุตรมีปัญญา อันน้อยค่อยกำหนดฟัง เตโชพิการกาล กำเนิดโทษวาโยบัง เกิดจุกแลเสียดหลัง จะหายใจบ่อิ่มใจ บวมมือแลบวมเท้า อาหารเล่ากินมิได้ ตั้งแต่จะลงไป จนสุดสิ้นกำลังโรย ครั้นสิ้นอาหารใน อุทรให้กระหายโหย หิวน้ำระยำโดย อุจจาระพิการเป็น ดังหนึ่งน้ำล้างเนื้อ กลิ่นนั้นเจือก็แม้นเหม็น ตะพาบน้ำอันคาวเป็น กำเนิดไฟอันสิ้นไป ปากแห้งแลคอแห้ง เหตุเพื่อแห่งอาหารใน อุทรนั้นสิ้นไป น้ำลายขาดบ่ค้างคอ เอามือนั้นบ้ายยา จงล้วงดูในลำสอ ถ้าเย็นเป็นเหน็บต่อ จะตายในเมื่อวันเย็น ฯ
๏ วาโยพิการนั้น ให้หูตึงกำเนิดเป็น น้ำหนวกอันไหลเหม็น ไม่เห็นไฟนัยน์ตาฟาง เมื่อยมือแลเมื่อยเท้า สันหลังฟกก็ดูพาง ฝีเอ็นกำเริบลาง บ้างก็อวกอาเจียนลม บ้างลงจนสิ้นแรง อาหารแดงในอาจม สิ้นไส้ก็เพื่อลม ในลำไส้จะหนีกาย ครั้นหน่วงด้วยคุณยา ที่ลงมาค่อยห่างหาย กลับรากลำบากกาย เป็นดังนี้ด้วยแรงกรรม อาการที่กล่าวมา เจ็ดวันว่าจงควรจำ ยายากจะยายำ โทษนี้แท้กำหนดตาย ฯ
๏ อาโปให้โทษนั้น ที่แท้ท่านกำหนดหมาย ดีเลือดเสลดทาย ทั้งสามนี้ท่านกล่าวมา ฯ
๏ จักกล่าวดีก่อนให้ปรา กฎโดยโทษา ให้แจ้งประจักษ์โดยมี จักตายเหตุนั้นคือดี แตกรั่วบางที ซึมซ่านแลล้นไหลไป ล้นนั้นด้วยโทษแห่งไฟ กำเริบหนึ่งใน อสรพิษฤทธิ์ยา ต้องกายกาย ร้อนดังกา ยาต้องอาญา วิบากด้วยท่าโบยตี ตกต้นไม้สูงตับดี แตกรั่วบางที ผีร้ายแลโทษซางกาฬ ขึ้นดีขั้วตีอติสาร ดีรั่วอาการ ให้ลงแลเหลืองทั้งกาย คนไข้ให้ปากเราะราย โทษมากมาย ให้บ่นพะเพ้อพึมไป โทษนี้ยากยากแก้ไข เต็มช้าจักไป กำหนดแต่เจ็ดวันวาร ดีแตกดีนั้นคือกาฬ จักสิ้นสุดปราณ เมื่อแตกอย่าได้ควรแคลง โทษโลหิตนั้นสำแลง อาหารแสลง เผอิญให้ร่วงลงไป ครั้นสิ้นสุดอาหารใน ลงเป็นน้ำใส ระคนด้วยเลือดจาง ๆ บ้างเป็นบิดปวดมวนคราง แน่นหน้าอกพาง พินาศด้วยรากลมทำ จับนิ่งแน่เท้ามือกำ ตัดอาหารทำ ให้ชัดให้ช้อนเหลือกตา ถ้าพร้อมด้วยโทษกล่าวมายากแพทย์จะรักษา จะยานั้นยากควรจำ เสมหะหนึ่งอยู่ในลำ คอหนึ่งประจำ ในทรวงแลย่อมเต็มทรวง อยู่ทวารหนักหนึ่งทั้งปวง เป็นสามคือยวง หยากเยื่อแลย่อมพัวพัน ถ้าไฟลมกล้านักมันข้นแค่นแข็งขัน ให้หย่อนให้ย้อยลงไป จากทรวงตั้งอยู่ยังใน ท้องมารกะไษยดังบ้างแลม้ามตัวมีให้จับเชื่อมมึนบางที เป็นเวลามี ให้จุดให้เสียดขบแทง เสมหะในทวารสำแดง โทษมันนั้นแรง ให้ลงแลเหลืองทั้งกาย มูตรตาเหลืองยาบ่มิคลาย เมื่อจักใกล้ตาย ก็เน่าเป็นบิดปวดมวน เสมหะในลำคอกวน กินอาหารชวน  ให้เหียนให้รากครุ่นไป โทษพร้อมดังกล่าวมาใน นี้จงแจ้งใจ จะยานั้นยากสุดยา ฯ
                                                                             คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ๔
๏ ปถวีโทษกล่าวมา ออกจากกายา กระดูกแลเนื้อเส้นเอ็น อาหารเก่าหากให้เห็น อาการที่เป็น วิบัติที่ในอาหาร ถึงป่วยไข้มาช้านาน ห่อนสิ้นอาหาร อันเก่าแต่ก่อนเดิมมา เมื่อจักสิ้นอายุปรากฏลงออกมา ให้เน่าแลเหม็นสาธารณ์ เป็นเลือดเป็นหนองพิการ เสมหะสัณฐาน คือมูลมุสิกร่วงราย บ้างดำบ้างเขียวเหลืองลาย สีนั้นย่อมทาย ว่ามูลขี้เทาตกลง เนื้อนั้นคือปลีแขนชงค์ เมื่อจักปลดปลง ชีวิตก็ห่อนเห็นหาบ กระดูกย่อมอยู่ในกาย ครั้นเมื่อจักตาย ก็ผอมเหี่ยวแห้งรูปทรง บังเกิดเห็นอิฐปลง สังเวชดูคง สัณฐานแลกลมเหลี่ยมแบน ชีพจรแต่ก่อนห่อนแคลน เดินอยู่ตามแผนระริกระรัวพัวพัน สิ้นแรงจักสิ้นอาสัญ สิ้นเส้นสำคัญ สิ้นชีพจรเคยเดิน โทษใครดังนี้เผอิญ จักตายไม่เกิน กำหนดในสามเจ็ดวัน ฯ
๏ จะสำแดงสมุฎฐาน กำหนดกาลที่เกิดไข้ ท่านตั้งไว้ประการสี่ ตามคัมภีร์ศิริมานนท์ ให้นรชนพึงรู้ สังเกตดูเพลากาล วันหนึ่งท่านแบ่งสี่ยาม คืนหนึ่งตามยามมีสี่ กลางวันมีโมงสิบสอง กลางคืนร้องเรียกว่าทุ่ม แม้นประชุมทุ่มเข้าสาม เรียกว่ายามเหมือนกัน ถ้ากลางวันสามโมงเล่า ท่านับเข้าว่ายามหนึ่ง ขอท่านพึ่งกำหนดเถิด ยามเช้าเกิดแต่เสมหัง ยามสองต้องด้วยโลหิต ยามสามติดเพื่อดี ตกยามสี่เพื่อวาตา ครั้นเพลาพลบค่ำ ยามหนึ่งทำด้วยกองลม ยามสองระดมดีซึมซาบ ยามสามอาบด้วยโลหิต ยามสี่ติดด้วยเสมหะ สมุฎฐานดังกล่าวมา จงวางยาแทรกกระสาย เสมหะร้าย แทรกด้วยเกลือ น้ำนมเสือใส่ประกอบ โลหิตชอบกระสายเปรี้ยว ดีสิ่งเดียวชอบรสขม ฝ่ายข้างลมชอบเผ็ดร้อน แพทย์จงผ่อนตามเวลา กระสายยาแทรกพลันหาย จะภิปรายในเรื่องรส เปรี้ยวปรากฏเคยสำเหนียก ส้มมะขามเปียกฝักส้มป่อย เปรี้ยวอร่อยน้ำส้มส้า ขมธรรมดาบอระเพ็ดกระดอมขมเป็นจอมดีงูเหลือม เผ็ดพอเอื้อมขิงดีปลี พิมเสนมีให้ใส่แทรก อนึ่งเค็มแปลกนอกจากเกลือ รู้ไว้เผื่อแก้ไม่หยุด มูตรมนุษย์เปลือกลำภู สองสิ่งรู้เถิดเค็มกร่อย อ่านบ่อย ๆ ให้จำได้ จะได้ใช้แทรกจูงยา ในตำราป่วงแปดประการ ตามคัมภีร์โบราณ ซึ่งท่านแต่ก่อนกล่าวเอย ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น